วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ขั้นตอน การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน


ขั้นตอนการเพาะ(เห็ดฟาง)โรงเรือน




               ในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน วัสดุเพาะนิยมใช้และได้ดีที่สุดก็คือ ขี้ฝ้าย (อาจผสมไส้นุ่นด้วยก็ได้โดยใช้ฟางเป็นวัสดุรองเพาะ อย่างไรก็ดีเรายังสามารถใช้วัสดุอื่น ๆ เพาะได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ไส้นุ่น เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลือง ผักตบชวาแห้ง ต้นกล้วยแห้ง ฟาง เศษหญ้าแห้ง ชานอ้อย และต้นข้าวโพดแห้ง เป็นต้น แต่วัสดุดังกล่าวนี้ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรสำหรับขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนที่สำคัญก็มีดังนี้

           1. การจัดโปรแกรมการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน
           2. การหมักวัสดุที่ใช้เพาะ (การหมักขี้ฝ้ายไส้นุ่น)
           3. การตีป่นขี้ฝ้ายและการเติมธาตุอาหารเสริม
           4. การนำขี้ฝ้ายขึ้นชั้นเพาะเห็ด
           5. การเลี้ยงเชื้อราอาหารเห็ด
           6. การอบไอน้ำฆ่าเชื้อราและศัตรูเห็ด
           7. การจัดเตรียมเชื้อเห็ดฟางและการโรยเชื้อเห็ดฟาง
           8. การปรับอุณหภูมิและสภาพอากาศภายในโรงเรือน
           9. การดูแลการพัฒนาของดอกเห็ดและการเก็บผลผลิต
          10. การทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อเตรียมการเพาะครั้งต่อไป

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางโรงเรือน

ขั้นที่1  หมักเปลือกมัน  วันที่ 1-6
             โรงเรือน ขนาด 5×7 เมตร ใช้เปลือกมัน 3,000 กิโล/โรงเรือน ทำการหมักโดยการ เกลี่ย เปลือกมันเป็นชั้น หว่านส่วนผสมสูตรหมักที่เตรียมไว้ทีละชั้นให้ได้ 4 ชั้น แล้วคลุมผ้าใบ 4-7 วัน

ขั้นที่ 2  เมื่อทำการหมักได้ถึง 5-6 วัน ทำการปูฟางบนชั้น รดน้ำให้ชุ่ม วันที่ 7 นำเปลือกมันขึ้นชั้น เขี่ยเปลือกมันให้ราบ แล้วรดน้ำ นำชุดแต่งหน้าที่หมักไว้มาหว่านให้ทั่วหน้าถาด โชยน้ำปิดห้องไว้ 1 คืน

ขั้นที่ 3  วันที่ 9 ทำการอบไอน้ำ ฆ่าเชื้อรา เชื้อโรค ที่ปะปนอยู่ในห้อง ใช้ความร้อน 70 องศา เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

ขั้นที่ 4  วันที่ 10 เปิดระบายอากาศ เพื่อทำการหว่านเชื้อเห็ด โดยขยี้เชื้อเห็ดให้ละเอียด คลุกกับรำอ่อน และนำไปโรยบนชั้น ใช้เชื้อครั้งละ 3 ก้อน โชยน้ำเล็กน้อย แล้วปิดห้องไว้ 3 วัน

ขั้นที่ 5  วันที่ 13 ทำการตัดใบ โดยเปิดห้องระบายอากาศเพื่อใล่แก๊สออกให้หมด แล้วฉีดน้ำเข้าไปใส่เส้นใยเห็ด เพื่อให้เส้นใยยุบตัว เสร็จแล้วเปิดรูระบายด้านบน ปิดห้องไว้ตามเดิม 2 วัน

ขั้นที่ 6  วันที่ 16 ทำการเปิดระบายอากาศเข้าด้านล่าง (เปิดรูหนู) เพื่อนำอากาศดีเข้าด้านล่างไล่อากาศเสียออกบน วันนี้จะเริ่มมีดอกเห็ดเม็ดเล็กๆชึ้นมาบ้างแล้ว และเห็ดจะค่อยๆเพิ่มขนาดและจำนวนต่อไปเรื่อยๆ ประมาณ 4-5 วัน ก็เก็บขายได้



การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน

  
 การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน




 การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน 

              เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้ว เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต 

             ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมากในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ, นำมาตีให้ละเอียด, ใส่ในโรงเรือน, เลี้ยงเชื้อรา, อบฆ่าเชื้อ, ปรับอุณภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้


โรงเรือนที่ใช้เฉพาะและการจัดสร้าง โรงเรือนที่จะใช้เพาะเห็ดฟางนั้น ควรคำนึงถึงความเป็นจริงที่มีการปฏิบัติกันอยู่แยกออกเป็น    

- การทำแม่เชื้อเห็ดฟาง
- การทำก้อนเชื้อเห็ดฟาง
- การหมักวัสดุเพาะเห็ดฟาง
- การนำวัสดุเพาะขึ้นชั้นเพาะ
- การอบไอน้ำโรงเรือน
- การโรยเชื้อเห็ดฟาง
- การเลี้ยงเชื้อ
- การตัดใย
- การระบายอากาศและควบคุมสภาพแวดล้อม
- การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง
- การหมั่นสังเกตและข้อควรระวัง

สำหรับวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนนั้น เริ่มจากการทำโรงเรือนแบบชั่วคราว ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร หลังคามุงแฝกหรือวัสดุกันแดดและฝนได้ ด้านในบุด้วยผ้าใบพลาสติกสีฟ้าหรือสีขาวก็ได้ ทายาแนวภายในผ้าใบเพื่อไม่ให้มีรอยรั่ว ทำพื้นแบบประหยัดไม่ต้องเทพื้น ชั้นเพาะเห็ดทำด้วยไม้ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวตามขนาดความยาวของโรงเรือน แต่ละแถวจะมี 4-5 ชั้นเพาะ แต่ละชั้นห่างกัน 40 เซนติเมตร รองชั้นเพาะด้วยตาข่าย

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน 
จำเป็นต้องอบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์อุณหภูมิอยู่ที่60 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และติดโทโมมิเตอร์ เพื่อใช้วัดอุณหภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดทั้งขณะระหว่างการเพาะ ในส่วนของขั้นตอนในการเพาะเริ่มจากการหมักวัสดุเพาะเป็นชั้น 3 ชั้น ต่อด้วยการนำวัสดุขึ้นชั้นเพาะ อบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โรยเชื้อเห็ดฟางเลี้ยงเส้นใย หลังจากเลี้ยงเส้นใยได้ 3 วันก็จะตัดเส้นใย และลดอุณหภูมิเพื่อเพิ่มความชื้น




อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

         การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อให้การดำเนินการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายควรมีอุปกรณ์ทีสำคัญดังนี้

     1. พัดลมดูดเป่า และ ระบายอากาศ เป็นพัดลมทรงกระบอกธรรมดา ขนาดใบพัด 16-20เซ็นติเมตร   แต่ดัดแปลงทำกล่องสังกะสีสวมปากทางลมออก โดยให้มีลมออกได้ 2 ทาง ทางหนึ่งต่อเข้าภายในโรง เรือน อีกทางหนึ่งออกภายนอก ทั้งสองจะมีลิ้นเปิดปิด ส่วนทางออกลมก็เช่นเดียวกัน 

      คือ ทำทางดูด 2 ทาง ต่อเข้าภายในด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และมีลิ้นปิดเปิดเช่นกัน สำหรับทางออกลมก็ต่อเข้าภายในโรงเรือนโดยต่อขึ้นไปข้างบนขนานกับสันจั่ว อาจทำด้วยท่อเอสล่อนหรือใช้ผ้าพลาสติกเย็บให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางพอสวมปากท่อได้ ตรงท่อที่ขนานจั่วนั้นต้องทำการเจาะรูเท่าม้วนบุรี่เพื่อให้อากาศออก

     2. เทอร์โมมิเตอร์ คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณภูมิภายในห้อง ควรใช้ขนาดที่สามารถวัดได้ตั้งแต่ 0-100 องศาเซลเซียส อยูู่ติดผนังสูงจากพื้นประมาณ 1.50 เมตร อยู่ด้านในของโรงเรือนก็ได้ ช่องที่เจาะใส่เทอร์โมมิเตอร์นั้นจะต้องกลวง เพื่อให้เทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับอากาศภายในส่วนด้านนอกของโรงเรือนปิดด้วยกระจกใสเพื่อง่ายต่อการอ่านค่า

     3. กะบะไม้หรือแบบพิมพ์ไม้สำหรับหมักวัสดุ จะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้ขนาดความกว้างและความยาวเท่ากันประมาณ 1-15 เมตร สูง 50 เซนติเมตร

     4. เครื่องตีปุ๋ยหมัก ใช้ตีปุ๋ย หลังจากหมักได้ที่แล้ว เครื่องตีปุ๋ยหมักควรเป็นเครื่องที่กำลังแรงสูง อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 5 แรงม้า อาจดัดแปลงจากเครื่องตีน้ำแข็ง หรือเครื่องตีหินก็ได้ ตีปุ๋ยหมักให้ละเอียดและฟู

     5. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องพ่นฝอย เครื่องวัดความชื้น ตะกร้าเก็บเห็ด



                                                                                        
             



วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

สูตรหมัก วิธีการหมักวัสดุเพาะ


สูตรหมัก วิธีการหมักวัสดุเพาะ




การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน จากเปลือกมันสำปะหลัง

                  การเพาะเห็ดฟางจากกเปลือกมันสำปะหลังจะทำให้ได้เห็ดฟางดอกใหญ่  ทำได้ตลอดปี  
ปกติการเพาะเห็ดฟางส่วนใหญ่ จะเพาะกลางแจ้งและวัสดุที่ใช้กันเป็นหลักจะใช้ฟางข้าว แต่ในปัจจุบันมีการนำวัสดุการเกษตรที่เหลือใช้เช่นกากเปลือกมันสำปะหลังมาใช้ ซึ่งได้ผลดีเพราะเห็ดฟางที่เพาะได้ดอกโตและเก็บได้นาน และเห็ดฟางในโรงเรือนสามารถเพาะได้ตลอดปี

              
สูตรหมัก

o  เปลือกมันสำปะหลัง (เปลือกล้าง)   3,000 ก.ก.
o  ขี้วัว  3   กระสอบ
o  ปุ๋ย สูตรเสมอ (15-15-15)    2  ก.ก.
o  ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)     1  ก.ก.
o  รำอ่อน    12   ก.ก.
o  น้ำหมัก 1ขวดโค๊ก+กากน้ำตาล 1ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร
o  ปูนขาว   3    ก.ก.

สูตรแต่งหน้า มีวิธีการทำ ดังนี้

- ขี้วัว          1   กระสอบ
- รำอ่อน      6   ก.ก.
- ปูนขาว     3   ก.ก.
- ปุ๋ยสูตรเสมอ (15-15-15)     2   ก.ก.
- ปุ๋ยยูเรีย  (46-0-0)     1   ก.ก.
- เปลือกมะพร้าวสับหยาบ       1-2  กระสอบ
- น้ำหมัก 1แก้วน้ำ+กากน้ำตาล ½ ลิตร ผสมน้ำ  20 ลิตร
- นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้ารวมกันให้ได้ความชื้น ประมาณ  65-70  เปอร์เซ็น





วิธีการหมักวัสดุเพาะโดยใช้กากมันสำปะหลังเป็นวัสดุเพาะ 
1. ใช้คราดหรือคราดมือเสือตะกุยกากมันสัมปะหลัง ให้กระจายหนาประมาณ 15-20 เซ็นติเมตร               โดยให้เป็นชั้น
2. เมื่อได้ชั้นที่ 1 กว้างประมาณ 4x4 เมตร  เอาวัสดุหมักทั้งหมดหว่านในกองหมักให้ทั่ว ไห้แกลบเป็นวัสดุสุดท้าย แล้วเอาฟางโรยบางๆ (ถ้ามี) จากนั้นให้เอาEMผสมกากน้ำตาลผสมน้ำ 200 ลิตร รดให้ทั่ว และทำชั้นต่อไป ขั้นตอนเหมือนกัน  ชั้นสุดท้าย( ประมาณ 4 ชั้น) ให้เอาผ้าใบ หรืผ้าฟางคลุมไว้ เป็นอันเสร็จ
3.การกลับกอง ให้กองวัสดุเพาะหนาเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นหนา 15 – 20 ซ.ม โดยแต่ละชั้นให้โรยอาหารเสริมตามสูตรของคุณที่มี เช่น ยิปซั่ม รำ ปูนขาว ปุ๋ย E.M ให้พอดีหมดตามส่วน โดยให้ความสูงของกองหมัก 70 ซ.ม ยาวไปเรื่อยจนหมดวัสดุเพาะ จับอุณหภูมิวัสดุเพาะว่าใช้เวลาเท่าไร จึงจะมีอุณภูมิสูงขึ้นถึง 50-55 องศา จะต้องกลับกองหมัก เพื่อให้กองหมักได้รับออกซิเจน และให้ก๊าซแอมโมเนีย  (กลิ่นเหม็น)  ที่เกิดจากการหมักจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการหมักเพื่อย่อยสลายธาตุอาหาร
 
4.จำนวนครั้งของการกลับกองวัสดุ ให้สังเกตจากว่า หากอุณหภูมิของกองหมักสูงขึ้นถึง 50 – 55 องศา โดยใช้เวลามากขึ้น ก็แสดงว่าขบวนการย่อยสลายของจุลรินทรีย์ ดำเนินไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว 


    ทำความสะอาดโรงเรือน


            โดยการฉีดน้ำล้างโรงเรือนแล้วนำฟางวาง ไว้ตามชั้นให้มีความหนาประมาณ 10 ซม.และนำวัสดุที่หมักครบ7 วัน ไปวางไว้ความหนาประมาณ 10 ซม. แล้วรดน้ำ ใช้ผ้ายางปิดไว้ 1-2 วัน ห้ามเปิด  ใช้เตาอบไอน้ำท่อยัดไอน้ำเข้าไป 3 ซม.  ความร้อน 60 -70 องศาเซลเซียส  
เป็นการเชื้อโรคตาย  3 วัน วันที่ 4 ปล่อยให้อากาศถ่ายเทแล้วจึงหว่านเชื้อเห็ดฟางบนชั้น  

           หลังจากนั้น3 วันรดน้ำ เปิดช่องลมไว้อีก 3 วัน จึงจะเริ่มเห็นเห็ดเป็นตุ่มๆหลังจากนั้น 7 วันสามารถเก็บเห็ดไปจำหน่ายได้สามารถเก็บเห็ดได้ นาน 7-15 วัน หลังจากเก็บครั้งแรก

        

         1 โรงเรือนเก็บได้ประมาณ150-230 กก/
  โรง/วัสดุ 3 ตัน  รายได้เฉลี่ยเดือนละ 40,000-      50,000  บาท  
  ต้นทุนการผลิตอยู่  ประมาณ   25,000  บาท   
  โรงเรือนสร้าง 1 ครั้งสามารถอยู่ได้นาน 3 ปี     ต้นทุนต่อโรงเรือน 15,000  บาท   

            การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร  การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนสามาถทำได้ตลอดปีในฤดูร้อนต้องใช้พัดลมช่วย