ขั้นตอนการเพาะ(เห็ดฟาง)โรงเรือน
ในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน วัสดุเพาะนิยมใช้และได้ดีที่สุดก็คือ ขี้ฝ้าย (อาจผสมไส้นุ่นด้วยก็ได้) โดยใช้ฟางเป็นวัสดุรองเพาะ อย่างไรก็ดีเรายังสามารถใช้วัสดุอื่น ๆ เพาะได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ไส้นุ่น เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลือง ผักตบชวาแห้ง ต้นกล้วยแห้ง ฟาง เศษหญ้าแห้ง ชานอ้อย และต้นข้าวโพดแห้ง เป็นต้น แต่วัสดุดังกล่าวนี้ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรสำหรับขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนที่สำคัญก็มีดังนี้
1. การจัดโปรแกรมการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน
2. การหมักวัสดุที่ใช้เพาะ (การหมักขี้ฝ้าย, ไส้นุ่น)
3. การตีป่นขี้ฝ้ายและการเติมธาตุอาหารเสริม
4. การนำขี้ฝ้ายขึ้นชั้นเพาะเห็ด
5. การเลี้ยงเชื้อราอาหารเห็ด
6. การอบไอน้ำฆ่าเชื้อราและศัตรูเห็ด
7. การจัดเตรียมเชื้อเห็ดฟางและการโรยเชื้อเห็ดฟาง
8. การปรับอุณหภูมิและสภาพอากาศภายในโรงเรือน
9. การดูแลการพัฒนาของดอกเห็ดและการเก็บผลผลิต
10. การทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อเตรียมการเพาะครั้งต่อไป
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางโรงเรือน
โรงเรือน ขนาด 5×7 เมตร ใช้เปลือกมัน 3,000 กิโล/โรงเรือน ทำการหมักโดยการ เกลี่ย เปลือกมันเป็นชั้น หว่านส่วนผสมสูตรหมักที่เตรียมไว้ทีละชั้นให้ได้ 4 ชั้น แล้วคลุมผ้าใบ 4-7 วัน
ขั้นที่ 2 เมื่อทำการหมักได้ถึง 5-6 วัน ทำการปูฟางบนชั้น รดน้ำให้ชุ่ม วันที่ 7 นำเปลือกมันขึ้นชั้น เขี่ยเปลือกมันให้ราบ แล้วรดน้ำ นำชุดแต่งหน้าที่หมักไว้มาหว่านให้ทั่วหน้าถาด โชยน้ำปิดห้องไว้ 1 คืน
ขั้นที่ 3 วันที่ 9 ทำการอบไอน้ำ ฆ่าเชื้อรา เชื้อโรค ที่ปะปนอยู่ในห้อง ใช้ความร้อน 70 องศา เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
ขั้นที่ 4 วันที่ 10 เปิดระบายอากาศ เพื่อทำการหว่านเชื้อเห็ด โดยขยี้เชื้อเห็ดให้ละเอียด คลุกกับรำอ่อน และนำไปโรยบนชั้น ใช้เชื้อครั้งละ 3 ก้อน โชยน้ำเล็กน้อย แล้วปิดห้องไว้ 3 วัน
ขั้นที่ 5 วันที่ 13 ทำการตัดใบ โดยเปิดห้องระบายอากาศเพื่อใล่แก๊สออกให้หมด แล้วฉีดน้ำเข้าไปใส่เส้นใยเห็ด เพื่อให้เส้นใยยุบตัว เสร็จแล้วเปิดรูระบายด้านบน ปิดห้องไว้ตามเดิม 2 วัน
ขั้นที่ 6 วันที่ 16 ทำการเปิดระบายอากาศเข้าด้านล่าง (เปิดรูหนู) เพื่อนำอากาศดีเข้าด้านล่างไล่อากาศเสียออกบน วันนี้จะเริ่มมีดอกเห็ดเม็ดเล็กๆชึ้นมาบ้างแล้ว และเห็ดจะค่อยๆเพิ่มขนาดและจำนวนต่อไปเรื่อยๆ ประมาณ 4-5 วัน ก็เก็บขายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น