สูตรหมัก วิธีการหมักวัสดุเพาะ
การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน จากเปลือกมันสำปะหลัง
การเพาะเห็ดฟางจากกเปลือกมันสำปะหลังจะทำให้ได้เห็ดฟางดอกใหญ่ ทำได้ตลอดปี
ปกติการเพาะเห็ดฟางส่วนใหญ่ จะเพาะกลางแจ้งและวัสดุที่ใช้กันเป็นหลักจะใช้ฟางข้าว แต่ในปัจจุบันมีการนำวัสดุการเกษตรที่เหลือใช้เช่นกากเปลือกมันสำปะหลังมาใช้ ซึ่งได้ผลดีเพราะเห็ดฟางที่เพาะได้ดอกโตและเก็บได้นาน และเห็ดฟางในโรงเรือนสามารถเพาะได้ตลอดปี
สูตรหมัก
o เปลือกมันสำปะหลัง (เปลือกล้าง) 3,000 ก.ก.
o ขี้วัว 3 กระสอบ
o ปุ๋ย สูตรเสมอ (15-15-15) 2 ก.ก.
o ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1 ก.ก.
o รำอ่อน 12 ก.ก.
o น้ำหมัก 1ขวดโค๊ก+กากน้ำตาล 1ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร
o ปูนขาว 3 ก.ก.
สูตรแต่งหน้า มีวิธีการทำ ดังนี้
- ขี้วัว 1 กระสอบ
- รำอ่อน 6 ก.ก.
- ปูนขาว 3 ก.ก.
- ปุ๋ยสูตรเสมอ (15-15-15) 2 ก.ก.
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1 ก.ก.
- เปลือกมะพร้าวสับหยาบ 1-2 กระสอบ
- น้ำหมัก 1แก้วน้ำ+กากน้ำตาล ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
- นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้ารวมกันให้ได้ความชื้น ประมาณ 65-70 เปอร์เซ็น
ทำความสะอาดโรงเรือน
โดยการฉีดน้ำล้างโรงเรือนแล้วนำฟางวาง ไว้ตามชั้นให้มีความหนาประมาณ 10 ซม.และนำวัสดุที่หมักครบ7 วัน ไปวางไว้ความหนาประมาณ 10 ซม. แล้วรดน้ำ ใช้ผ้ายางปิดไว้ 1-2 วัน ห้ามเปิด ใช้เตาอบไอน้ำท่อยัดไอน้ำเข้าไป 3 ซม. ความร้อน 60 -70 องศาเซลเซียส
เป็นการเชื้อโรคตาย 3 วัน วันที่ 4 ปล่อยให้อากาศถ่ายเทแล้วจึงหว่านเชื้อเห็ดฟางบนชั้น
หลังจากนั้น3 วันรดน้ำ เปิดช่องลมไว้อีก 3 วัน จึงจะเริ่มเห็นเห็ดเป็นตุ่มๆหลังจากนั้น 7 วันสามารถเก็บเห็ดไปจำหน่ายได้สามารถเก็บเห็ดได้ นาน 7-15 วัน หลังจากเก็บครั้งแรก
1 โรงเรือนเก็บได้ประมาณ150-230 กก/
โรง/วัสดุ 3 ตัน รายได้เฉลี่ยเดือนละ 40,000- 50,000 บาท
ต้นทุนการผลิตอยู่ ประมาณ 25,000 บาท
โรงเรือนสร้าง 1 ครั้งสามารถอยู่ได้นาน 3 ปี ต้นทุนต่อโรงเรือน 15,000 บาท
การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนสามาถทำได้ตลอดปีในฤดูร้อนต้องใช้พัดลมช่วย
- ขี้วัว 1 กระสอบ
- รำอ่อน 6 ก.ก.
- ปูนขาว 3 ก.ก.
- ปุ๋ยสูตรเสมอ (15-15-15) 2 ก.ก.
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1 ก.ก.
- เปลือกมะพร้าวสับหยาบ 1-2 กระสอบ
- น้ำหมัก 1แก้วน้ำ+กากน้ำตาล ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
- นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้ารวมกันให้ได้ความชื้น ประมาณ 65-70 เปอร์เซ็น
วิธีการหมักวัสดุเพาะโดยใช้กากมันสำปะหลังเป็นวัสดุเพาะ
1. ใช้คราดหรือคราดมือเสือตะกุยกากมันสัมปะหลัง ให้กระจายหนาประมาณ 15-20 เซ็นติเมตร โดยให้เป็นชั้น
2. เมื่อได้ชั้นที่ 1 กว้างประมาณ 4x4 เมตร เอาวัสดุหมักทั้งหมดหว่านในกองหมักให้ทั่ว ไห้แกลบเป็นวัสดุสุดท้าย แล้วเอาฟางโรยบางๆ (ถ้ามี) จากนั้นให้เอาEMผสมกากน้ำตาลผสมน้ำ 200 ลิตร รดให้ทั่ว และทำชั้นต่อไป ขั้นตอนเหมือนกัน ชั้นสุดท้าย( ประมาณ 4 ชั้น) ให้เอาผ้าใบ หรืผ้าฟางคลุมไว้ เป็นอันเสร็จ
3.การกลับกอง ให้กองวัสดุเพาะหนาเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นหนา 15 – 20 ซ.ม โดยแต่ละชั้นให้โรยอาหารเสริมตามสูตรของคุณที่มี เช่น ยิปซั่ม รำ ปูนขาว ปุ๋ย E.M ให้พอดีหมดตามส่วน โดยให้ความสูงของกองหมัก 70 ซ.ม ยาวไปเรื่อยจนหมดวัสดุเพาะ จับอุณหภูมิวัสดุเพาะว่าใช้เวลาเท่าไร จึงจะมีอุณภูมิสูงขึ้นถึง 50-55 องศา จะต้องกลับกองหมัก เพื่อให้กองหมักได้รับออกซิเจน และให้ก๊าซแอมโมเนีย (กลิ่นเหม็น) ที่เกิดจากการหมักจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการหมักเพื่อย่อยสลายธาตุอาหาร
3.การกลับกอง ให้กองวัสดุเพาะหนาเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นหนา 15 – 20 ซ.ม โดยแต่ละชั้นให้โรยอาหารเสริมตามสูตรของคุณที่มี เช่น ยิปซั่ม รำ ปูนขาว ปุ๋ย E.M ให้พอดีหมดตามส่วน โดยให้ความสูงของกองหมัก 70 ซ.ม ยาวไปเรื่อยจนหมดวัสดุเพาะ จับอุณหภูมิวัสดุเพาะว่าใช้เวลาเท่าไร จึงจะมีอุณภูมิสูงขึ้นถึง 50-55 องศา จะต้องกลับกองหมัก เพื่อให้กองหมักได้รับออกซิเจน และให้ก๊าซแอมโมเนีย (กลิ่นเหม็น) ที่เกิดจากการหมักจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการหมักเพื่อย่อยสลายธาตุอาหาร
4.จำนวนครั้งของการกลับกองวัสดุ ให้สังเกตจากว่า หากอุณหภูมิของกองหมักสูงขึ้นถึง 50 – 55 องศา โดยใช้เวลามากขึ้น ก็แสดงว่าขบวนการย่อยสลายของจุลรินทรีย์ ดำเนินไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว
ทำความสะอาดโรงเรือน
โดยการฉีดน้ำล้างโรงเรือนแล้วนำฟางวาง ไว้ตามชั้นให้มีความหนาประมาณ 10 ซม.และนำวัสดุที่หมักครบ7 วัน ไปวางไว้ความหนาประมาณ 10 ซม. แล้วรดน้ำ ใช้ผ้ายางปิดไว้ 1-2 วัน ห้ามเปิด ใช้เตาอบไอน้ำท่อยัดไอน้ำเข้าไป 3 ซม. ความร้อน 60 -70 องศาเซลเซียส
เป็นการเชื้อโรคตาย 3 วัน วันที่ 4 ปล่อยให้อากาศถ่ายเทแล้วจึงหว่านเชื้อเห็ดฟางบนชั้น
หลังจากนั้น3 วันรดน้ำ เปิดช่องลมไว้อีก 3 วัน จึงจะเริ่มเห็นเห็ดเป็นตุ่มๆหลังจากนั้น 7 วันสามารถเก็บเห็ดไปจำหน่ายได้สามารถเก็บเห็ดได้ นาน 7-15 วัน หลังจากเก็บครั้งแรก
1 โรงเรือนเก็บได้ประมาณ150-230 กก/
โรง/วัสดุ 3 ตัน รายได้เฉลี่ยเดือนละ 40,000- 50,000 บาท
ต้นทุนการผลิตอยู่ ประมาณ 25,000 บาท
โรงเรือนสร้าง 1 ครั้งสามารถอยู่ได้นาน 3 ปี ต้นทุนต่อโรงเรือน 15,000 บาท
การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนสามาถทำได้ตลอดปีในฤดูร้อนต้องใช้พัดลมช่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น