วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การหว่านเชื้อเห็ดฟางและการดูแลรักษา


การหว่านเชื้อเห็ดฟางและการดูแลรักษา



               1.ตื่นเช้าหลังจากอบโรงเรือนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิแล้ว
              2.เปิดผ้ายางในโรงเรือนออกทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทิ้งไว้เพื่อระบายอากาศประมาณ 1 ชั่วโมง
              3.จากนั้นต่อสายยาง เพื่อเข้าไปฉีดน้ำแบบฝอยให้ทั่วโรงเรือน ทุกชั้นรวมทั้งพื้นโรงเรือนด้วยจนชุ่มเปียก นำเชื้อเห็ดที่ผสมแล้ว ไปโรยเกลี่ยให้ทั่วบนวัสดุเพาะเห็ดฟางจนหมด ซึ่ง 1 โรงเรือนจะใช้ก้อนเชื้อเห็ดผสมประมาณ 25 ก้อนพอดี


              4.ให้ผสมวิตามินเห็ดตราเจ๊ล้วง 3 ฝา+น้ำ 5 ลิตร ฉีดแบบฝอยตามให้ทั่วทั้งโรงเรือนที่โรยเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว จากนั้นปิดโรงเรือนไว้เหมือนเดิม แล้วปล่อยให้เห็ดเริ่มเดินเชื้อโดยไม่ต้องเปิดดูเลยประมาณ 4-5 วัน

              5.พอวันที่ 6 ของการโรยเชื้อ ให้เปิดโรงเรือนออกเพื่อระบายอากาศทิ้งไว้ก่อน ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเข้าไปทำการรดน้ำแบบฝอยให้ทั่วโรงเรือนจนชุ่มอีกครั้ง ตามด้วยการฉีดพ่นวิตามินเห็ดตราเจ๊ล้วงในอัตรา 3 ฝา + น้ำ 5 ลิตร แล้วปิดไว้เหมือนเดิม เรียกว่า “ตัดใยเห็ด” ก่อนปิดพลาสติกชั้นในสุด ให้ทำการเจาะรูก่อนเพื่อให้อากาศเข้า โดยเจาะทั้งหมด 16 รู ได้แก่ ด้านหน้า 2 รู /ด้านหลัง 2 รู / ด้านบนยาว 3 รู ทั้งสองข้าง / ด้านล่างยาว 3 รู ทั้งสองข้าง โดยเจาะแบบรูสามเหลี่ยม ∆ แล้วรื้อผ้าแสลนดำที่คลุมด้านนอกออกให้หมด



             6.รออีก 4-5 วัน เห็ดฟางจะเริ่มออกดอก ก็เข้าไปดูได้ ถ้าเริ่มเห็นเห็ดออกดอกขนาดเท่ากับเม็ดข้าวโพด ให้ฉีดพ่นบำรุงด้วยฮอร์โมนดำตราเจ๊ล้วง 2 ฝา + วิตามินเห็ด 1 ฝา + น้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นแบบละอองฝอยบำรุงให้ดอกเห็ดจับกันเป็นดอกเร็วขึ้น

             7.วันรุ่งขึ้นสามารถเก็บเห็ดไปจำหน่ายหรือบริโภคได้ โดยให้เก็บตอนกลางคืนตั้งแต่ 6 ทุ่ม – ตี 3 เก็บโดยการใช้มีดคมตัดโคนเห็ดชิดกองเพาะ แล้วตามด้วยการฉีดวิตามินเห็ด + ฮอร์โมนดำ อย่างละ 1 ฝา + น้ำ 10 ลิตร ทุกครั้งที่เก็บเห็ดเพื่อเป็นการบำรุงดอกเห็ด

             8.ครั้งแรกสามารถเก็บเห็ดฟางได้ต่อเนื่อง 3-5 วัน จากนั้นเห็ดจะพักตัว 2 วัน แล้วจะเริ่มออกดอกใหม่แต่จะให้ปริมาณไม่มากเท่าครั้งแรก

การเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง


การเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง



           1.เตรียมโรงเรือน กว้าง 5.50 เมตร ยาว 10 เมตร มีหลังคากันแดด กันฝน เหมาะสม

           2.ภายในโรงเรือนทำเป็นชั้นไม้ไผ่ 4 แถวๆละ 4 ชั้น แต่ละชั้นให้มีความยาวประมาณ 1.20 เมตร กว้าง 1 เมตร และความสูงแต่ละชั้นห่างกันชั้นละ 45 เซนติเมตร และควรใช้ไม้ไผ่ทำชั้นวางจะดีที่สุด

           3.จากนั้นนำตาข่ายพลาสติกขนาดรูกว้าง 1 นิ้ว มาขึงให้ทั่วชั้นวางกองวัสดุเพาะทุกชั้นให้ตึง เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุเพาะหลุดตกลงมาด้านล่าง

           4.ผนังโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดฟาง ควรให้มีสองชั้น ชั้นในสุดให้ใช้เป็นพลาสติกใส ส่วนชั้นนอกให้เป็นผ้าแสลนสีดำ หรือไพลหญ้ามุงปิดให้มิดชิด




ขั้นตอนการนำวัสดุเพาะเห็ด
ที่หมักครบ 5 วันแล้วเข้าโรงเรือนเพาะเห็ดที่เตรียมไว้


             1. ครบ 5 วัน ที่ทำการหมักวัสดุเพาะเห็ดแล้ว เตรียมน้ำผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ไว้ประมาณ 200 ลิตร(น้ำหมักจุลินทรีย์ 2 ลิตร + กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม + น้ำ 200 ลิตร)

             2. หลังจากเตรียมน้ำผสมจุลินทรีย์ไว้แล้ว 200 ลิตร ก็ตักน้ำราดลงบนกองวัสดุเพาะในคอกหมัก โดยผสมกันไปเรื่อยๆจนหมดน้ำประมาณ 200 ลิตร จนได้ความชื้นที่เหมาะสม

             3. เตรียมฟางข้าวไปวางเกลี่ยให้ทั่วทุกชั้นในโรงเรือนเพาะเห็ดพอประมาณ ทับบนตาข่ายพลาสติกที่ขึงไว้แล้ว




            4.จากนั้นราดน้ำลงบนฟางให้ทั่วจนฟางยุบตัว แล้วโรยปูนขาวบนกองฟางให้ทั่วประมาณ 3 กิโลกรัมต่อ 1 โรงเรือน

            5. ตักวัสดุเพาะที่ผสมน้ำแล้วใส่ถังพลาสติก แล้วนำไปเทไว้บนชั้นวางในโรงเรือนที่เตรียมไว้เป็นจุดๆ จนหมดส่วนผสม 2 ตันพอดีที่หมักไว้ในคอกหมัก แล้วเกลี่ยกองวัสดุเพาะให้เรียบเสมอกันให้เรียบร้อยทั้งโรงเรือน

            6. เตรียมอาหารหมักเพิ่มเติมเพื่อเป็นการแต่งหน้ากองเพาะเห็ด ประกอบด้วย ปุ๋ยคอก 2 กระสอบ + รำอ่อน 20 กิโลกรัม + ถุงเงิน 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าผสมให้เข้ากันแล้วไปโรยตกแต่งปกหน้ากองวัสดุเพาะเห็ดให้ทั่วจนครบทุกชั้น

            7.จากนั้นดึงพลาสติกด้านในลงมาปิดให้สุด ขุดร่องด้านล่างเพื่อดึงชายพลาสติกลงให้ตึงและมิดชิดป้องกันไม่ให้อากาศเข้า ด้านนอกก็ปิดทับอีกชั้นด้วยผ้าแสลนดำหรือไพรหญ้าให้มิดชิดด้วย แล้วพักโรงเรือนไว้ 1 คืน เพื่อเตรียมการอบต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การเพาะเห็ดฟางให้ออกดอก ช่วงฤดูหนาว


การกระตุ้นเห็ดฟางให้ออกดอก ในช่วงฤดูหนาว

          ช่วงฤดูหนาวจัดเป็นช่วงเวลาแห่งการปราบเซียน ของผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญและการเกิดดอกของเห็ดฟาง จึงทําใหัเส้นใยรวมตัวเป็นดอกเห็ดได้ยาก ด้วยธรรมชาติขิงเห็ดฟาง ที่จะชอบอากาศร้อนชื้น จึงทำให้ในช่วงฤดูหนาวมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย แต่ความต้องการบริโภคกลับมีอย่างต่อเนื่อง



                นอกจากนี้ ราคาผลผลิตในช่วงฤดูหนาวก็สูงจูงใจ จนทำใหัเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดฟางหลายท่าน มีความมุ่งมั่นที่จะหาเคล็ดวิธี มากระตุ้น หรือ เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเเละการเกิดดอกของเห็ดฟางในช่วงนี้ ถึงแม้จะไม่ง่ายในการควบคุมสภาพภูมิอากาศ แต่ถ้ามีการจัดสภาพเเวดล้อมด้วยการ เพิ่มอุณหภูมิ ให้สูงขึ้น หรือเทียบเท่ากับที่เห็ดฟางต้องการใช้ในการเจริญเติบโต ปัญหาเห็ดฟางออกดอกยาก หรือมีผลผลิตน้อยในฤดูหนาวก็จะหมดไป

ซึ่งวิธีการเพิ่มอุณหภูมิใหัแก่เห็ดฟางนั้น เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟาง  ที่ค้นพบหนทางช่วยให้เห็ดฟางสามารถมีผลผลิตที่ดีได้แม้จะเป็น ช่วงฤดูหนาวที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย ด้วยอุปกรณ์การเพิ่ม แสงที่สามารถปฏิบัิีติตามได้ไม่ยาก


วิธีการทำ
  1.นำปี๊บมาตัดฝาด้านบนออก ล้างทำความสะอาดแล้ว ผึ่งหรือตากเเดดให้เเห้ง
  2.เมื่อปี๊บเเห้งดีแล้ว ใหันํามาเจาะจู(ด้านที่เป็นก้นปี๊บ) เพื่อร้อยสายไฟ ผ่านรูที่เจาะ
  3.นำขั้วหลอดไฟมาประกอบต่อพ่วง(ด้านสายไฟที่ร้อยผ่านรูก้นปี๊บ) พร้อมติดตั้งหลอดไฟ(ตามรูป) ส่วนสายอีกด้านหนึ่งที่ร้อยผ่านรูก้นปี๊บออกไปด้านนอก ให้ทำการประกอบขั้วปลั๊กไฟ หรือจะใช้สายไฟชนิดที่มีขั้วแขวนพร้อมปลั๊กไฟสำเร็จรูปที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปมาใช้ติดตั้งแทนก็ได้ เช่นกัน
  4.นำปี๊บที่ประกอบเรียบร้อยเเลัว (หน้าตาจะ คล้ายโคมไฟ) มาผูกเชือกแล้วนำไปแขวนไว้ในโรงเพาะเห็ด โรงเรือนละประมาณ 2-5 จุด หรือ ตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือนที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นใหักับเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว

วิธีการใช้ 
           นําอุปกรณ์ที่ประกอบเสร็จแล้วไป  ติดตั้งโดยการแขวนไว้ ตามจุดต่างๆ ในโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง โรงละประมาณ 2 5 จุด(พิจารณาใช้ตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน) แลัวทําการเดินสายเสียบปลั๊กไฟ เปิดให้เเสงในช่วงเวลากลางคืน โดยเปิดไฟทุกคืนจนกว่าเห็ดจะออกดอก เพื่อให้ความอบอุ่นเป็นการเพิ่มอุณหภูมิ ให้เเก่เห็ดฟาง หรือจะเปิดไฟให้ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ ก็จะทําให้เส้นใยเห็ดฟาง เจริญดี มีผลผลิตเพิ่มขี้น

สูตรน้ำหมักเร่งกระตุ้นดอกเห็ดฟาง



สูตรน้ำหมักเร่งกระตุ้นการเกิดดอกเห็ดฟาง


          ช่วงนี้เกษตรกรที่ทําการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเห็ดฟางน่าจะดีใจได้เพราะอากาศร้อนชื้นแบบนี้แหละที่เห็ดฟางจะให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ มองไปในท้องตลาดเห็ดฟางก็เริ่มจะมีมากขึ้น แต่ราคาก็ยังคงทรงตัวระหว่างกิโลกรัมละ 80-100บาท 





               โดยทําการเพาะเห็ดฟางจากทลายปาล์มซึ่งได้ศึกษาการเพาะเห็ดฟางมาจากหลายๆพื้นที่ และประสบความสําเร็จ สามารถทํารายได้เสริมหาเลี้ยงครอบครัวได้

การเพาะเห็ดฟางนั้น โดยปกติแล้วเห็ดฟางจะออกผลผลิตให้เกษตรกรในชุดแรกของการเก็บผลผลิต แต่เมื่อออกผลผลิตชุดที่สองและชุดที่สาม ดอกเห็ดก็จะเล็กลงและให้ผลผลิตน้อยลง

นี่ก็ถือว่า เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางได้ทําการคิดค้นสูตรน้ำหมักเพื่อใช้ในการเร่งดอกเห็ดฟาง ในการออกดอกชุดที่สองและสาม ซึ่งได้มีการนําวัตถุดิบเหลือใช้มาทําน้ำหมักสูตรดังกล่าว 
โดยมีรายละเอียดดังนี้



สูตรนํ้าหมักเร่งและกระตุ้นการเกิดดอกเห็ดฟาง

1.เศษเห็ดดฟางที่เหลือใช้จํานวน 10 กิโลกรัม
2.กากนํ้าตาล จํานวน 5 ลิตร 
3.พด.2 จํานวน 1 ซอง 
4.นํ้า จํานวน 20 ลิตร

วิธีการทํา 

นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักรวมกัน โดยหมักไว้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จึงสามารถนําไปใช้งานได้

 วิธีการนําไปใช้ 


เก็บดอกเห็ดชุดที่หนึ่งเสร็จ รดนํ้าชั้นเพาะเห็ดให้เปียก จากนั้นก็นํานํ้าหมักมาฉีด ในอัตรา นํ้าหมัก 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ นํ้า 20 ลิตร(โรงเพาะเห็ด 1 โรง ) ควรจะทําการฉีดในชวงเช้ามืด
หมายเหตุ : สําหรับดอกเห็ดฟางที่นำมาใช้ในการทํานํ้าหมักนั้นจะต้องเลือกดอกเห็ดที่ดีๆ และเลือกดอกที่สมบูรณ์


วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ที่มา หัวเชื้อเห็ดฟาง


ที่มาที่ไป หัวเชื้อเห็ดฟาง




               1. เมื่อดอกเห็ดฟางบานเต็มที่ ใต้ครีบดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นั่นคือสปอร์เม็ดเล็กจำนวนมาก เล็กมากมองด้วยตาปล่าไม่เห็น สปอร์ ที่อยู่ใต้ครีบดอกจะหลุดลอย ปลิวไปในอากาศ โดยลมเป็นผู้พาไป ไปตกในที่เหมาะสม จะเจริญเป็นเส้นใยเห็ด แล้วรวมตัว สร้างเป็นดอกเห็ดขึ้นมาใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นการขยายพันธุ์เห็ดฟาง โดยวิธีธรรมชาติ 
        
              2. การหาสายพันธุ์เชื้อเห็ดฟาง เพื่อผลิต หัวเชื้อเห็ดฟาง จะใช้เนื้อเห็ดมาเลี้ยงในอาหารวุ้น เรียกว่าขยายพันธุ์ โดยใช้ เนื้อเยื่อ ซึ่งง่ายและสะดวกกว่า การใช้ สปอร์ 

            3. ขั้นตอนการหา แม่เชื้อเห็ดฟาง ( สายพันธุ์เชื้อเห็ดฟาง )

     1 คัดดอกเห็ดที่เปลือกหนา ดอกใหญ่ 20 ดอก
     2 นำมาตัดเนื้อเห็ดแต่ละดอก วางในอาหารวุ้น แล้วนำไปบ่มในตู้บ่มแม่เชื้อ ( 32 องศา )
     3. 10 วันเส้นใยจะเจริญเต็มขวดอาหารวุ้น แล้วเลือกเฉพาะเส้นใยที่เดินใยเรียบกับอาหารวุ้น อย่างสม่ำเสมอ เลือกไว้ 10 ดอก



3.4 แล้วนำ แม่เชื้อ มาขยายลงในหัวเชื้อ ทั้งหมด 10 ดอกพร้อมกัน อีก 10 – 12 วันเส้นใยเดินเต็ม ก้อนหัวเชื้อ พร้อมที่จะนำไปเพาะ เพื่อตรวจสอบว่า สายพันธุ์ดอกไหน ให้ผลผลิตตามที่ต้องการ 
          

             
               3.5 เมื่อคัดเลือกได้แล้ว กำหนดสายพันธุ์   เชื้อเป็นตัวเลข สายพันธุ์เบอร์ 01 – 10 
เป็นสายพันธุ์ประจำฟาร์ม 
  และสามารถนำไปขยายจำนวนได้อีกมากมาย เพื่อนำไปต่อลงในก้อน หัวเชื้อเห็ดฟาง ต่อไป
       
         เชื้อเห็ดฟาง คือหัวใจของการเพาะ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่.





    1. แม่เชื้อ คือสายพันธุ์เชื้อเห็ดฟางที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว ได้สายพันธุ์ที่ต้องการ จะอยู่ในขวดแบนใหญ่ โดยเส้นใยเห็ดเจริญอยู่บนอาหารวุ้น
         
    2. หัวเชื้อได้จากการนำเอา แม่เชื้อมาขยายลงในปุ๋ยหมัก โดยแม่เชื้อ 1 ขวดขยายได้ 25 ก้อน แล้วนำหัวเชื้อไปบ่ม 10 – 12 วันเส้นใยเห็ดเดินเต็ม สามารถนำไปเพาะได้
         
    3. เชื้อต่อ คือการนำหัวเชื้อ 1 ก้อน มาแบ่งต่อลงในปุ๋ยหมัก โดยหัวเชื้อ 1 ก้อนต่อได้ 100 ถุง แล้วนำไปบ่มให้เส้นใยเดินเต็ม แล้วนำไปเพาะได้ 

  เชื้อต่อ เป็นเชื้อเห็ดฟางที่สร้างปัญหาให้ผู้เพาะมากที่สุด เพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าการต่อเชื้อ ต่อมาแล้วกี่ครั้ง เชื้อเห็ดฟางเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง การตัดต่อหลายๆครั้งทำให้เกิดการกลายพันธุ์สูงมาก ดังนั้นผู้เพาะควรเลือกใช้เฉพาะ หัวเชื้อเห็ดฟาง เท่านั้น
         


                    ระยะการใช้หัวเชื้อเห็ดฟาง ที่เหมาะสม แข็งแรง และปลอดภัยที่สุด.  
          สมมุติว่าเส้นใยเห็ดฟางเดินเต็มถึงก้นถุง วันที่ 1. 

    1. ตั้งแต่วันที่ 1 – 5 เป็นระยะที่เส้นใยเห็ดเดินบางๆ เรียกว่า เชื้ออ่อน ไม่ควรนำมาใช้ 

    2. ตั้งแต่วันที่ 6 - 15 เป็นระยะที่เส้นใยหนาแน่นอีกเท่าตัว บางส่วนจับเป็นปื้นสีขาวขุ่น เรียกว่า เชื้อกลาง เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด และปลอดภัยจากการปะปน ของเชื้อราอื่นๆ เพราะจะมองเห็นได้ชัดเจน ให้คัดทิ้งไป

    3. ตั้งแต่วันที่ 16 – 20 เป็นระยะที่ เชื้อเห็ดฟางเริ่มอ่อนกำลังลง เรียกว่า เชื้อแก่ เส้นใยเริ่มยุบตัวลง บางส่วนจับตัวเป็นสีน้ำตาล 


                  สรุป. การใช้หัวเชื้อเห็ดฟาง คือ ใช้หัวเชื้อที่ไม่อ่อน และไม่แก่เกินไป ให้ใช้หัวเชื้อช่วงกลาง ( 10 วัน ) นอกจากจะเหมาะสม
 เชื้อแข็งแรงแล้ว ยังปลอดภัยจากการปะปนของเชื้อราอื่นๆ เช่น ราเขียว ราดำ ราเห็ดถั่ว 
( เห็ดกล้า เห็ดขายาว เห็ดขี้ม้า ) เพราะจะมองเห็นชัดเจน คัดทิ้งไปไม่นำมาใช้ ..




การผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง


การผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง



   หัวเชื้อเห็ดฟาง 

                การผลิตเชื้อเห็ดฟางจะใช้สูตร ขี้ม้า เปลือกเมล็ดบัว กากไส้นุ่น กากเมล็ดฝ้าย เศษฝ้าย  เป็นวัสดุผลิต แต่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้เปลือกถั่วเหลืองหรือถั่วเขียว เศษฝ้าย และเสริมด้วยปูนขาว ยิบซัม รำละเอียด โดยวิธีการหมักเหมือนๆกันเกือบทุกฟาร์ม  เชื้อเห็ดจะต่างกันตรงที่ สายพันธุ์ของแม่เชื้อเท่านั้น ว่าฟาร์มไหนจะใช้สายพันธุ์อะไร โดยแต่ละฟาร์มจะหาสายพันธุ์แม่เชื้อ อยู่ตลอดเวลา เพื่อสับเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ ในแต่ละช่วงเวลา 

                 ดังนั้นผู้ผลิตหัวเชื้อเห็ดแต่ละฟาร์มจะรู้ว่า ณ เวลานั้นๆหัวเชื้อเห็ดฟางของฟาร์มเอง  ออกดอกเป็นอย่างไร เช่น ถ้าใช้สายพันธุ์หนัก ลักษณะการเกิดดอกจะเกิดช้า ดอกใหญ่ เปลือกหนา เก็บทน และทนอากาศร้อนได้ดี เป็นต้น สำหรับสายพันธุ์เห็ดฟาง ถ้าจะแบ่งตามลักษณะการเกิดดอก จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เบา และสายพันธุ์หนัก 



             สูตร

1.
เปลือกถั่วเหลืองหรือถั่วเขียว
150   กก.
2.
เศษฝ้าย
100   กก.
3.
ปูนขาว
2   กก.
4.
ยิบซัม
4   กก.
5.
รำละเอียด
5   กก.
                   

         วิธีผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง

               วัสดุผลิตหลัก ได้แก่ เศษฝ้าย และเปลือกถั่วเหลืองหรือเปลือกถั่วเขียว นำเปลือกถั่ว ใส่บ่อแช่น้ำ 3 ชม. หรือใช้วิธีกองกับพื้นแล้วรดน้ำกลับกองไปมาแทนก็ได้ แล้วตั้งกองเป็นรูปหลังเต่า หมักเปลือกถั่วไว้ 4 คืน โดยกลับกองทุกวัน เพื่อระบายความร้อนในกอง เพื่อให้การหมักเป็นไปอย่างทั่วถึง  หมักได้ที่ไม่มีกลิ่นแก๊สแอมโมเนีย ( ถ้ามีให้กลับกองหมักต่อ จนปุ๋ยหมักมีกลิ่นหอม ) กระจายกอง ผสมเศษฝ้าย

     
              นำอาหารเสริม ที่เตรียมไว้หว่านทับบน  เศษฝ้ายให้ทั่วถึง นำเข้าเครื่องผสม 
เพื่อคลุกให้ทุกส่วนเข้ากัน ตั้งกองสูง 30 ซม. 
หมักกองปุ๋ยไว้ 3 คืน ทำการกลับกองทุกวัน 
โดยนำเข้าเครื่องผสมทุกครั้ง เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ทั่วถึง  
            ทำการบรรจุลงถุงทนร้อนพับก้นสำเร็จ ขนาด 7 x 12 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 600 กรัม 
สวมคอขวด รัดยาง อุดจุกด้วยสำลี เรียงลงตะแกรงเหล็ก ครอบด้วยฝาครอบ เพื่อป้องกันน้ำเข้าระหว่างการอบฆ่าเชื้อ แล้วนำเข้าตู้นึ่ง ทำการอบฆ่าเชื้อได้


            โดยปกติหม้อต้มไอน้ำจะอยู่ห่างจากตู้นึ่ง แล้วส่งไอน้ำไปตามท่อไปที่ตู้นึ่ง ให้อุณหภูมิที่ 100 องศา นาน 6 ชม. ปล่อยให้ก้อนเชื้อที่ผ่านการนึ่งให้เย็น แล้วนำเข้าห้องต่อแม่เชื้อ โดยปกติจะเตรียมขยายแม่เชื้อไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว  แม่เชื้อเห็ดฟาง 1 ขวด สามารถต่อลงก้อนหัวเชื้อได้ 25 ถุง วิธีต่อจำเป็นต้องทำในห้องมิดชิดเพื่อป้องกันเชื้ออื่นๆปะปน

          ทำการเปลี่ยนลงลังไม้ ตีตัวเลข วันที่เชื้อเดินเต็ม เดือน และ ตัวเลขสายพันธุ์เชื้อเห็ด จะอยู่ตัวสุดท้าย เช่น 19 - 07 - 05 หมายความว่า เชื้อเดินเต็มวันที่ 19 เดือน กรกฎาคม ( 07 ) และเป็นสายพันธุ์เชื้อเบอร์ 05 เพื่อสะดวกในการเลือกใช้
ต่อแม่เชื้อ เปลี่ยนลงลังไม้ ตีตัวเลขวันที่เชื้อเดินเต็ม และสายพันธุ์เชื้อแล้ว นำเข้าห้องบ่ม 12 วันหัวเชื้อเดินใยเต็มถุง พร้อมที่จะจัดลงถุงกระดาษ เพื่อเตรียมจัดส่งลูกค้า หรือนำไปเพาะได้แล้ว



สูตรกากมันสำปะหลัง


สูตรกากมันสำปะหลัง (กากล้าง) พร้อมวิธีการหมัก




                   กากมันสำปะหลัง  ที่เหลือใช้ในขบวนการผลิตแป้งมัน จะมีอยู่ 3 ชนิด 
ได้แก่ กากดิน กากล้าง และกากแป้ง กากดิน ได้จากการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังครั้งแรก ก่อนนำเข้าสู่ขบวนการผลิต จะมีเศษดิน เศษเปลือกนอก ลักษณะเป็นเหมือนดิน น้ำหนักมาก กากล้าง ได้จากการล้างทำความสะอาดครั้งที่ 2 ลักษณะจะมีน้ำปนออกมา สารอาหารที่เห็ดต้องการมีมาก ส่วน กากแป้ง ได้จากขบวนการผลิตสุดท้าย จะมีลักษณะเปียกชุ่มมาก สีออกขาว เนื้อละเอียด มีสารอาหารยังคงเหลืออยู่มากที่สุด ( บางโรงงานทำการตากแห้ง บรรจุถุงขาย ราคา กก.ละ 2-3 บาท ) 

                ดังนั้น กากล้างและกากแป้ง เมื่อนำมาเพาะเห็ด ให้ผลผลิตสูงกว่า กากดิน และเป็นสูตรที่ชาวเห็ดเกือบทุกคนบอกว่าเพาะยาก เพราะเหตุว่า ลักษณะของกากมันมี 3 ชนิด และที่สำคัญควรนำมาทำการเพาะทันทีหลังจาก ออกจากโรงงาน เพราะถ้ากองกากมันไว้ที่โรงงาน เท่ากับขบวนการย่อยสลายสารอาหารต่างๆก็เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว




สูตรการเพาะด้วยกากล้าง (ใช้เพาะได้ 100 ตารางเมตร)

1.
กากมันล้าง
4000
กก.
2.
ปูนขาว
8
กก.
3.
ยิบซัม
8
กก.
4.
ภูไมท์ (ไม่มีไม่ต้องใช้)
8
กก.
5.
มูลวัว/ควาย
80
กก.
6.
รำละเอียด
20
กรัม
7.
Em หัวเชื้อ
2
ลิตร
8.
กากน้ำตาล
2
ลิตร



             วิธีการหมักกากล้าง 

            ขยาย Em ล่วงหน้า 7-14 วัน โดยใช้น้ำสะอาด 40 ลิตร ผสมด้วยกากน้ำตาล 2 ลิตรและ Em หัวเชื้อ 2 ลิตร ใส่ถังหมักทิ้งไว้ตามกำหนด เรียกว่า Emขยาย ( ได้ Em ขยาย 40 ลิตร )    

    1. วันที่ 1 นำกากล้าง ทั้งหมดมากระจายให้บางๆ แล้วนำ ปูนขาว ยิบซัม ภูไมท์ มูลวัว/ควาย และรำละเอียด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน เรียกว่าเป็นอาหารเสริม 

    2. นำอาหารเสริมที่ผสมกันดีแล้ว 1 ส่วนมาหว่านบนกองมัน แล้วนำEmขยาย 20 ลิตรมาผสมน้ำ 100 ลิตร
    3. ทำการกลับกองด้วยจอบ พร้อมกับโชยด้วย Emขยาย จนหมดกอง แล้วทำการตั้งกองเป็นรูปหลังเต่า สูงประมาณ 50 ซม. คลุมด้วยพลาสติก หมักทิ้งไว้ 3 คืน
         
    4. วันที่ 4 เช้า ( หมักครบ 3 คืน ) เปิดพลาสติกออก ทำการกลับกองมันที่หมักไว้ โดยหว่านอาหารเสริมส่วนที่ 2 และรดด้วยน้ำ Em ขยายที่เหลือผสมน้ำ 100 ลิตร กลับกองแล้วตั้งกองเหมือนเดิม หมักต่ออีก 3 คืน
    5. วันที่ 6 เช้า ปูฟางหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ รดน้ำให้เปียกชุ่มมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปิดโรงเรือนไว้ 1 คืน 
    6. วันที่ 7 ขบวนการหมักกากมัน ครบ 6 คืนพร้อมที่จะขนขึ้นชั้นได้แล้ว ก่อนทำการขนขึ้นชั้นให้ตรวจดูความชื้นในกองมันโดยการใช้มือกำดู ถ้าไม่ชื้นพอให้รดน้ำ กะดูว่ากำมือเบาๆ มีน้ำไหลออกมา เป็นใช้ได้ 

    7. ในวันเดียวกันฟางบนชั้นเห็ดที่รดน้ำล่วงหน้าไว้ 1 คืน ทำการรดน้ำอีกครั้ง แล้วขนกากมันทับบนฟาง โดยเกลี่ยให้แบนราบ สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ 

    8. ขนกากมันขึ้นครบทุกชั้น ทำการหว่านรำละเอียดบางๆ อีกครั้งแล้วปิดโรงเรือน ทิ้งไว้ 2 คืน เรียกว่าเลี้ยงเชื้อรา 

    9. วันที่ 9 เช้า ทำการอบไอน้ำได้ เมื่ออุณหภูมิขึ้น 70 องศา จับเวลา 3 ชม. เป็นใช้ได้ 

    10. วันที่ 10 โรยเชื้อเห็ดได้แล้ว โดย 1 ก้อน โรยได้ 2 ตารางเมตร เมื่อโรยเชื้อครบทุกชั้น ทำการพ่นน้ำเป็นละอองเบาๆให้ทั่วถึง ปิดโรงเรือนไว้อีก 3 คืน 

    11. วันที่ 13 เปิดโรงเรือนจะมองเห็นเส้นใยเห็ดฟางเดินใยบนชั้นบางๆ ให้ทำการพ่นน้ำไปที่ใยเห็ด กะดูว่าใยเห็ดแนบกับกากมัน พ่นไปให้ทั่วถึง ไม่ว่าที่ใต้ชั้น ด้านข้างโรงเรือน แล้วเปิดระบายอากาศด้านบนทันที ปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 3 คืน 

    12. วันที่ 16 เปิดโรงเรือนจะเห็ดดอกเห็ดเล็กๆเกิดขึ้นบ้างแล้ว ให้สังเกตดอกเห็ดดอกใหญ่ที่สุดว่าสมบูรณ์หรือไม่ คือถ้าบนดอกเห็ดมีสีดำปนเทา สมบูรณ์ดีแล้ว ถ้าขาวคือเห็ดขาดอากาศ ให้เปิดระบายอากาศ อีกเท่าตัวแล้วสังเกตในวันรุ่งขึ้น