สูตรกากมันสำปะหลัง (กากล้าง) พร้อมวิธีการหมัก
กากมันสำปะหลัง ที่เหลือใช้ในขบวนการผลิตแป้งมัน จะมีอยู่ 3 ชนิด
ได้แก่ กากดิน กากล้าง และกากแป้ง กากดิน ได้จากการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังครั้งแรก ก่อนนำเข้าสู่ขบวนการผลิต จะมีเศษดิน เศษเปลือกนอก ลักษณะเป็นเหมือนดิน น้ำหนักมาก กากล้าง ได้จากการล้างทำความสะอาดครั้งที่ 2 ลักษณะจะมีน้ำปนออกมา สารอาหารที่เห็ดต้องการมีมาก ส่วน กากแป้ง ได้จากขบวนการผลิตสุดท้าย จะมีลักษณะเปียกชุ่มมาก สีออกขาว เนื้อละเอียด มีสารอาหารยังคงเหลืออยู่มากที่สุด ( บางโรงงานทำการตากแห้ง บรรจุถุงขาย ราคา กก.ละ 2-3 บาท )
ดังนั้น กากล้างและกากแป้ง เมื่อนำมาเพาะเห็ด ให้ผลผลิตสูงกว่า กากดิน และเป็นสูตรที่ชาวเห็ดเกือบทุกคนบอกว่าเพาะยาก เพราะเหตุว่า ลักษณะของกากมันมี 3 ชนิด และที่สำคัญควรนำมาทำการเพาะทันทีหลังจาก ออกจากโรงงาน เพราะถ้ากองกากมันไว้ที่โรงงาน เท่ากับขบวนการย่อยสลายสารอาหารต่างๆก็เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว
สูตรการเพาะด้วยกากล้าง
(ใช้เพาะได้ 100 ตารางเมตร)
1.
|
กากมันล้าง
|
4000
|
กก.
|
2.
|
ปูนขาว
|
8
|
กก.
|
3.
|
ยิบซัม
|
8
|
กก.
|
4.
|
ภูไมท์ (ไม่มีไม่ต้องใช้)
|
8
|
กก.
|
5.
|
มูลวัว/ควาย
|
80
|
กก.
|
6.
|
รำละเอียด
|
20
|
กรัม
|
7.
|
Em หัวเชื้อ
|
2
|
ลิตร
|
8.
|
กากน้ำตาล
|
2
|
ลิตร
|
วิธีการหมักกากล้าง
ขยาย Em ล่วงหน้า 7-14 วัน โดยใช้น้ำสะอาด 40 ลิตร ผสมด้วยกากน้ำตาล 2 ลิตรและ Em หัวเชื้อ 2 ลิตร ใส่ถังหมักทิ้งไว้ตามกำหนด เรียกว่า Emขยาย ( ได้ Em ขยาย 40 ลิตร )
1. วันที่ 1 นำกากล้าง ทั้งหมดมากระจายให้บางๆ แล้วนำ ปูนขาว ยิบซัม ภูไมท์ มูลวัว/ควาย และรำละเอียด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน เรียกว่าเป็นอาหารเสริม
2. นำอาหารเสริมที่ผสมกันดีแล้ว 1 ส่วนมาหว่านบนกองมัน แล้วนำEmขยาย 20 ลิตรมาผสมน้ำ 100 ลิตร
3. ทำการกลับกองด้วยจอบ พร้อมกับโชยด้วย Emขยาย จนหมดกอง แล้วทำการตั้งกองเป็นรูปหลังเต่า สูงประมาณ 50 ซม. คลุมด้วยพลาสติก หมักทิ้งไว้ 3 คืน
4. วันที่ 4 เช้า ( หมักครบ 3 คืน ) เปิดพลาสติกออก ทำการกลับกองมันที่หมักไว้ โดยหว่านอาหารเสริมส่วนที่ 2 และรดด้วยน้ำ Em ขยายที่เหลือผสมน้ำ 100 ลิตร กลับกองแล้วตั้งกองเหมือนเดิม หมักต่ออีก 3 คืน
5. วันที่ 6 เช้า ปูฟางหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ รดน้ำให้เปียกชุ่มมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปิดโรงเรือนไว้ 1 คืน
6. วันที่ 7 ขบวนการหมักกากมัน ครบ 6 คืนพร้อมที่จะขนขึ้นชั้นได้แล้ว ก่อนทำการขนขึ้นชั้นให้ตรวจดูความชื้นในกองมันโดยการใช้มือกำดู ถ้าไม่ชื้นพอให้รดน้ำ กะดูว่ากำมือเบาๆ มีน้ำไหลออกมา เป็นใช้ได้
7. ในวันเดียวกันฟางบนชั้นเห็ดที่รดน้ำล่วงหน้าไว้ 1 คืน ทำการรดน้ำอีกครั้ง แล้วขนกากมันทับบนฟาง โดยเกลี่ยให้แบนราบ สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ
8. ขนกากมันขึ้นครบทุกชั้น ทำการหว่านรำละเอียดบางๆ อีกครั้งแล้วปิดโรงเรือน ทิ้งไว้ 2 คืน เรียกว่าเลี้ยงเชื้อรา
9. วันที่ 9 เช้า ทำการอบไอน้ำได้ เมื่ออุณหภูมิขึ้น 70 องศา จับเวลา 3 ชม. เป็นใช้ได้
10. วันที่ 10 โรยเชื้อเห็ดได้แล้ว โดย 1 ก้อน โรยได้ 2 ตารางเมตร เมื่อโรยเชื้อครบทุกชั้น ทำการพ่นน้ำเป็นละอองเบาๆให้ทั่วถึง ปิดโรงเรือนไว้อีก 3 คืน
11. วันที่ 13 เปิดโรงเรือนจะมองเห็นเส้นใยเห็ดฟางเดินใยบนชั้นบางๆ ให้ทำการพ่นน้ำไปที่ใยเห็ด กะดูว่าใยเห็ดแนบกับกากมัน พ่นไปให้ทั่วถึง ไม่ว่าที่ใต้ชั้น ด้านข้างโรงเรือน แล้วเปิดระบายอากาศด้านบนทันที ปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 3 คืน
12. วันที่ 16 เปิดโรงเรือนจะเห็ดดอกเห็ดเล็กๆเกิดขึ้นบ้างแล้ว ให้สังเกตดอกเห็ดดอกใหญ่ที่สุดว่าสมบูรณ์หรือไม่ คือถ้าบนดอกเห็ดมีสีดำปนเทา สมบูรณ์ดีแล้ว ถ้าขาวคือเห็ดขาดอากาศ ให้เปิดระบายอากาศ อีกเท่าตัวแล้วสังเกตในวันรุ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น