ที่มาที่ไป หัวเชื้อเห็ดฟาง
1. เมื่อดอกเห็ดฟางบานเต็มที่ ใต้ครีบดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นั่นคือสปอร์เม็ดเล็กจำนวนมาก เล็กมากมองด้วยตาปล่าไม่เห็น สปอร์ ที่อยู่ใต้ครีบดอกจะหลุดลอย ปลิวไปในอากาศ โดยลมเป็นผู้พาไป ไปตกในที่เหมาะสม จะเจริญเป็นเส้นใยเห็ด แล้วรวมตัว สร้างเป็นดอกเห็ดขึ้นมาใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นการขยายพันธุ์เห็ดฟาง โดยวิธีธรรมชาติ
2. การหาสายพันธุ์เชื้อเห็ดฟาง เพื่อผลิต หัวเชื้อเห็ดฟาง จะใช้เนื้อเห็ดมาเลี้ยงในอาหารวุ้น เรียกว่าขยายพันธุ์ โดยใช้ เนื้อเยื่อ ซึ่งง่ายและสะดวกกว่า การใช้ สปอร์
1 คัดดอกเห็ดที่เปลือกหนา ดอกใหญ่ 20 ดอก
2 นำมาตัดเนื้อเห็ดแต่ละดอก วางในอาหารวุ้น แล้วนำไปบ่มในตู้บ่มแม่เชื้อ ( 32 องศา )
3. 10 วันเส้นใยจะเจริญเต็มขวดอาหารวุ้น แล้วเลือกเฉพาะเส้นใยที่เดินใยเรียบกับอาหารวุ้น อย่างสม่ำเสมอ เลือกไว้ 10 ดอก
3.4 แล้วนำ แม่เชื้อ มาขยายลงในหัวเชื้อ ทั้งหมด 10 ดอกพร้อมกัน อีก 10 – 12 วันเส้นใยเดินเต็ม ก้อนหัวเชื้อ พร้อมที่จะนำไปเพาะ เพื่อตรวจสอบว่า สายพันธุ์ดอกไหน ให้ผลผลิตตามที่ต้องการ
3.5 เมื่อคัดเลือกได้แล้ว กำหนดสายพันธุ์ เชื้อเป็นตัวเลข สายพันธุ์เบอร์ 01 – 10
เป็นสายพันธุ์ประจำฟาร์ม
และสามารถนำไปขยายจำนวนได้อีกมากมาย เพื่อนำไปต่อลงในก้อน หัวเชื้อเห็ดฟาง ต่อไป
เชื้อเห็ดฟาง คือหัวใจของการเพาะ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่.
1. แม่เชื้อ คือสายพันธุ์เชื้อเห็ดฟางที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว ได้สายพันธุ์ที่ต้องการ จะอยู่ในขวดแบนใหญ่ โดยเส้นใยเห็ดเจริญอยู่บนอาหารวุ้น
2. หัวเชื้อได้จากการนำเอา แม่เชื้อมาขยายลงในปุ๋ยหมัก โดยแม่เชื้อ 1 ขวดขยายได้ 25 ก้อน แล้วนำหัวเชื้อไปบ่ม 10 – 12 วันเส้นใยเห็ดเดินเต็ม สามารถนำไปเพาะได้
3. เชื้อต่อ คือการนำหัวเชื้อ 1 ก้อน มาแบ่งต่อลงในปุ๋ยหมัก โดยหัวเชื้อ 1 ก้อนต่อได้ 100 ถุง แล้วนำไปบ่มให้เส้นใยเดินเต็ม แล้วนำไปเพาะได้
เชื้อต่อ เป็นเชื้อเห็ดฟางที่สร้างปัญหาให้ผู้เพาะมากที่สุด เพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าการต่อเชื้อ ต่อมาแล้วกี่ครั้ง เชื้อเห็ดฟางเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง การตัดต่อหลายๆครั้งทำให้เกิดการกลายพันธุ์สูงมาก ดังนั้นผู้เพาะควรเลือกใช้เฉพาะ หัวเชื้อเห็ดฟาง เท่านั้น
ระยะการใช้หัวเชื้อเห็ดฟาง ที่เหมาะสม แข็งแรง และปลอดภัยที่สุด.
สมมุติว่าเส้นใยเห็ดฟางเดินเต็มถึงก้นถุง วันที่ 1.
1. ตั้งแต่วันที่ 1 – 5 เป็นระยะที่เส้นใยเห็ดเดินบางๆ เรียกว่า เชื้ออ่อน ไม่ควรนำมาใช้
2. ตั้งแต่วันที่ 6 - 15 เป็นระยะที่เส้นใยหนาแน่นอีกเท่าตัว บางส่วนจับเป็นปื้นสีขาวขุ่น เรียกว่า เชื้อกลาง เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด และปลอดภัยจากการปะปน ของเชื้อราอื่นๆ เพราะจะมองเห็นได้ชัดเจน ให้คัดทิ้งไป
3. ตั้งแต่วันที่ 16 – 20 เป็นระยะที่ เชื้อเห็ดฟางเริ่มอ่อนกำลังลง เรียกว่า เชื้อแก่ เส้นใยเริ่มยุบตัวลง บางส่วนจับตัวเป็นสีน้ำตาล
สรุป. การใช้หัวเชื้อเห็ดฟาง คือ ใช้หัวเชื้อที่ไม่อ่อน และไม่แก่เกินไป ให้ใช้หัวเชื้อช่วงกลาง ( 10 วัน ) นอกจากจะเหมาะสม
เชื้อแข็งแรงแล้ว ยังปลอดภัยจากการปะปนของเชื้อราอื่นๆ เช่น ราเขียว ราดำ ราเห็ดถั่ว
( เห็ดกล้า เห็ดขายาว เห็ดขี้ม้า ) เพราะจะมองเห็นชัดเจน คัดทิ้งไปไม่นำมาใช้ ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น