วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การเพาะเห็ดฟางให้ออกดอก ช่วงฤดูหนาว


การกระตุ้นเห็ดฟางให้ออกดอก ในช่วงฤดูหนาว

          ช่วงฤดูหนาวจัดเป็นช่วงเวลาแห่งการปราบเซียน ของผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญและการเกิดดอกของเห็ดฟาง จึงทําใหัเส้นใยรวมตัวเป็นดอกเห็ดได้ยาก ด้วยธรรมชาติขิงเห็ดฟาง ที่จะชอบอากาศร้อนชื้น จึงทำให้ในช่วงฤดูหนาวมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย แต่ความต้องการบริโภคกลับมีอย่างต่อเนื่อง



                นอกจากนี้ ราคาผลผลิตในช่วงฤดูหนาวก็สูงจูงใจ จนทำใหัเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดฟางหลายท่าน มีความมุ่งมั่นที่จะหาเคล็ดวิธี มากระตุ้น หรือ เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเเละการเกิดดอกของเห็ดฟางในช่วงนี้ ถึงแม้จะไม่ง่ายในการควบคุมสภาพภูมิอากาศ แต่ถ้ามีการจัดสภาพเเวดล้อมด้วยการ เพิ่มอุณหภูมิ ให้สูงขึ้น หรือเทียบเท่ากับที่เห็ดฟางต้องการใช้ในการเจริญเติบโต ปัญหาเห็ดฟางออกดอกยาก หรือมีผลผลิตน้อยในฤดูหนาวก็จะหมดไป

ซึ่งวิธีการเพิ่มอุณหภูมิใหัแก่เห็ดฟางนั้น เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟาง  ที่ค้นพบหนทางช่วยให้เห็ดฟางสามารถมีผลผลิตที่ดีได้แม้จะเป็น ช่วงฤดูหนาวที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย ด้วยอุปกรณ์การเพิ่ม แสงที่สามารถปฏิบัิีติตามได้ไม่ยาก


วิธีการทำ
  1.นำปี๊บมาตัดฝาด้านบนออก ล้างทำความสะอาดแล้ว ผึ่งหรือตากเเดดให้เเห้ง
  2.เมื่อปี๊บเเห้งดีแล้ว ใหันํามาเจาะจู(ด้านที่เป็นก้นปี๊บ) เพื่อร้อยสายไฟ ผ่านรูที่เจาะ
  3.นำขั้วหลอดไฟมาประกอบต่อพ่วง(ด้านสายไฟที่ร้อยผ่านรูก้นปี๊บ) พร้อมติดตั้งหลอดไฟ(ตามรูป) ส่วนสายอีกด้านหนึ่งที่ร้อยผ่านรูก้นปี๊บออกไปด้านนอก ให้ทำการประกอบขั้วปลั๊กไฟ หรือจะใช้สายไฟชนิดที่มีขั้วแขวนพร้อมปลั๊กไฟสำเร็จรูปที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปมาใช้ติดตั้งแทนก็ได้ เช่นกัน
  4.นำปี๊บที่ประกอบเรียบร้อยเเลัว (หน้าตาจะ คล้ายโคมไฟ) มาผูกเชือกแล้วนำไปแขวนไว้ในโรงเพาะเห็ด โรงเรือนละประมาณ 2-5 จุด หรือ ตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือนที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นใหักับเห็ดฟางในช่วงฤดูหนาว

วิธีการใช้ 
           นําอุปกรณ์ที่ประกอบเสร็จแล้วไป  ติดตั้งโดยการแขวนไว้ ตามจุดต่างๆ ในโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง โรงละประมาณ 2 5 จุด(พิจารณาใช้ตามขนาดพื้นที่ของโรงเรือน) แลัวทําการเดินสายเสียบปลั๊กไฟ เปิดให้เเสงในช่วงเวลากลางคืน โดยเปิดไฟทุกคืนจนกว่าเห็ดจะออกดอก เพื่อให้ความอบอุ่นเป็นการเพิ่มอุณหภูมิ ให้เเก่เห็ดฟาง หรือจะเปิดไฟให้ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ ก็จะทําให้เส้นใยเห็ดฟาง เจริญดี มีผลผลิตเพิ่มขี้น

สูตรน้ำหมักเร่งกระตุ้นดอกเห็ดฟาง



สูตรน้ำหมักเร่งกระตุ้นการเกิดดอกเห็ดฟาง


          ช่วงนี้เกษตรกรที่ทําการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเห็ดฟางน่าจะดีใจได้เพราะอากาศร้อนชื้นแบบนี้แหละที่เห็ดฟางจะให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ มองไปในท้องตลาดเห็ดฟางก็เริ่มจะมีมากขึ้น แต่ราคาก็ยังคงทรงตัวระหว่างกิโลกรัมละ 80-100บาท 





               โดยทําการเพาะเห็ดฟางจากทลายปาล์มซึ่งได้ศึกษาการเพาะเห็ดฟางมาจากหลายๆพื้นที่ และประสบความสําเร็จ สามารถทํารายได้เสริมหาเลี้ยงครอบครัวได้

การเพาะเห็ดฟางนั้น โดยปกติแล้วเห็ดฟางจะออกผลผลิตให้เกษตรกรในชุดแรกของการเก็บผลผลิต แต่เมื่อออกผลผลิตชุดที่สองและชุดที่สาม ดอกเห็ดก็จะเล็กลงและให้ผลผลิตน้อยลง

นี่ก็ถือว่า เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางได้ทําการคิดค้นสูตรน้ำหมักเพื่อใช้ในการเร่งดอกเห็ดฟาง ในการออกดอกชุดที่สองและสาม ซึ่งได้มีการนําวัตถุดิบเหลือใช้มาทําน้ำหมักสูตรดังกล่าว 
โดยมีรายละเอียดดังนี้



สูตรนํ้าหมักเร่งและกระตุ้นการเกิดดอกเห็ดฟาง

1.เศษเห็ดดฟางที่เหลือใช้จํานวน 10 กิโลกรัม
2.กากนํ้าตาล จํานวน 5 ลิตร 
3.พด.2 จํานวน 1 ซอง 
4.นํ้า จํานวน 20 ลิตร

วิธีการทํา 

นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักรวมกัน โดยหมักไว้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จึงสามารถนําไปใช้งานได้

 วิธีการนําไปใช้ 


เก็บดอกเห็ดชุดที่หนึ่งเสร็จ รดนํ้าชั้นเพาะเห็ดให้เปียก จากนั้นก็นํานํ้าหมักมาฉีด ในอัตรา นํ้าหมัก 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ นํ้า 20 ลิตร(โรงเพาะเห็ด 1 โรง ) ควรจะทําการฉีดในชวงเช้ามืด
หมายเหตุ : สําหรับดอกเห็ดฟางที่นำมาใช้ในการทํานํ้าหมักนั้นจะต้องเลือกดอกเห็ดที่ดีๆ และเลือกดอกที่สมบูรณ์


วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ที่มา หัวเชื้อเห็ดฟาง


ที่มาที่ไป หัวเชื้อเห็ดฟาง




               1. เมื่อดอกเห็ดฟางบานเต็มที่ ใต้ครีบดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นั่นคือสปอร์เม็ดเล็กจำนวนมาก เล็กมากมองด้วยตาปล่าไม่เห็น สปอร์ ที่อยู่ใต้ครีบดอกจะหลุดลอย ปลิวไปในอากาศ โดยลมเป็นผู้พาไป ไปตกในที่เหมาะสม จะเจริญเป็นเส้นใยเห็ด แล้วรวมตัว สร้างเป็นดอกเห็ดขึ้นมาใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นการขยายพันธุ์เห็ดฟาง โดยวิธีธรรมชาติ 
        
              2. การหาสายพันธุ์เชื้อเห็ดฟาง เพื่อผลิต หัวเชื้อเห็ดฟาง จะใช้เนื้อเห็ดมาเลี้ยงในอาหารวุ้น เรียกว่าขยายพันธุ์ โดยใช้ เนื้อเยื่อ ซึ่งง่ายและสะดวกกว่า การใช้ สปอร์ 

            3. ขั้นตอนการหา แม่เชื้อเห็ดฟาง ( สายพันธุ์เชื้อเห็ดฟาง )

     1 คัดดอกเห็ดที่เปลือกหนา ดอกใหญ่ 20 ดอก
     2 นำมาตัดเนื้อเห็ดแต่ละดอก วางในอาหารวุ้น แล้วนำไปบ่มในตู้บ่มแม่เชื้อ ( 32 องศา )
     3. 10 วันเส้นใยจะเจริญเต็มขวดอาหารวุ้น แล้วเลือกเฉพาะเส้นใยที่เดินใยเรียบกับอาหารวุ้น อย่างสม่ำเสมอ เลือกไว้ 10 ดอก



3.4 แล้วนำ แม่เชื้อ มาขยายลงในหัวเชื้อ ทั้งหมด 10 ดอกพร้อมกัน อีก 10 – 12 วันเส้นใยเดินเต็ม ก้อนหัวเชื้อ พร้อมที่จะนำไปเพาะ เพื่อตรวจสอบว่า สายพันธุ์ดอกไหน ให้ผลผลิตตามที่ต้องการ 
          

             
               3.5 เมื่อคัดเลือกได้แล้ว กำหนดสายพันธุ์   เชื้อเป็นตัวเลข สายพันธุ์เบอร์ 01 – 10 
เป็นสายพันธุ์ประจำฟาร์ม 
  และสามารถนำไปขยายจำนวนได้อีกมากมาย เพื่อนำไปต่อลงในก้อน หัวเชื้อเห็ดฟาง ต่อไป
       
         เชื้อเห็ดฟาง คือหัวใจของการเพาะ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่.





    1. แม่เชื้อ คือสายพันธุ์เชื้อเห็ดฟางที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว ได้สายพันธุ์ที่ต้องการ จะอยู่ในขวดแบนใหญ่ โดยเส้นใยเห็ดเจริญอยู่บนอาหารวุ้น
         
    2. หัวเชื้อได้จากการนำเอา แม่เชื้อมาขยายลงในปุ๋ยหมัก โดยแม่เชื้อ 1 ขวดขยายได้ 25 ก้อน แล้วนำหัวเชื้อไปบ่ม 10 – 12 วันเส้นใยเห็ดเดินเต็ม สามารถนำไปเพาะได้
         
    3. เชื้อต่อ คือการนำหัวเชื้อ 1 ก้อน มาแบ่งต่อลงในปุ๋ยหมัก โดยหัวเชื้อ 1 ก้อนต่อได้ 100 ถุง แล้วนำไปบ่มให้เส้นใยเดินเต็ม แล้วนำไปเพาะได้ 

  เชื้อต่อ เป็นเชื้อเห็ดฟางที่สร้างปัญหาให้ผู้เพาะมากที่สุด เพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าการต่อเชื้อ ต่อมาแล้วกี่ครั้ง เชื้อเห็ดฟางเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง การตัดต่อหลายๆครั้งทำให้เกิดการกลายพันธุ์สูงมาก ดังนั้นผู้เพาะควรเลือกใช้เฉพาะ หัวเชื้อเห็ดฟาง เท่านั้น
         


                    ระยะการใช้หัวเชื้อเห็ดฟาง ที่เหมาะสม แข็งแรง และปลอดภัยที่สุด.  
          สมมุติว่าเส้นใยเห็ดฟางเดินเต็มถึงก้นถุง วันที่ 1. 

    1. ตั้งแต่วันที่ 1 – 5 เป็นระยะที่เส้นใยเห็ดเดินบางๆ เรียกว่า เชื้ออ่อน ไม่ควรนำมาใช้ 

    2. ตั้งแต่วันที่ 6 - 15 เป็นระยะที่เส้นใยหนาแน่นอีกเท่าตัว บางส่วนจับเป็นปื้นสีขาวขุ่น เรียกว่า เชื้อกลาง เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด และปลอดภัยจากการปะปน ของเชื้อราอื่นๆ เพราะจะมองเห็นได้ชัดเจน ให้คัดทิ้งไป

    3. ตั้งแต่วันที่ 16 – 20 เป็นระยะที่ เชื้อเห็ดฟางเริ่มอ่อนกำลังลง เรียกว่า เชื้อแก่ เส้นใยเริ่มยุบตัวลง บางส่วนจับตัวเป็นสีน้ำตาล 


                  สรุป. การใช้หัวเชื้อเห็ดฟาง คือ ใช้หัวเชื้อที่ไม่อ่อน และไม่แก่เกินไป ให้ใช้หัวเชื้อช่วงกลาง ( 10 วัน ) นอกจากจะเหมาะสม
 เชื้อแข็งแรงแล้ว ยังปลอดภัยจากการปะปนของเชื้อราอื่นๆ เช่น ราเขียว ราดำ ราเห็ดถั่ว 
( เห็ดกล้า เห็ดขายาว เห็ดขี้ม้า ) เพราะจะมองเห็นชัดเจน คัดทิ้งไปไม่นำมาใช้ ..




การผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง


การผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง



   หัวเชื้อเห็ดฟาง 

                การผลิตเชื้อเห็ดฟางจะใช้สูตร ขี้ม้า เปลือกเมล็ดบัว กากไส้นุ่น กากเมล็ดฝ้าย เศษฝ้าย  เป็นวัสดุผลิต แต่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้เปลือกถั่วเหลืองหรือถั่วเขียว เศษฝ้าย และเสริมด้วยปูนขาว ยิบซัม รำละเอียด โดยวิธีการหมักเหมือนๆกันเกือบทุกฟาร์ม  เชื้อเห็ดจะต่างกันตรงที่ สายพันธุ์ของแม่เชื้อเท่านั้น ว่าฟาร์มไหนจะใช้สายพันธุ์อะไร โดยแต่ละฟาร์มจะหาสายพันธุ์แม่เชื้อ อยู่ตลอดเวลา เพื่อสับเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ ในแต่ละช่วงเวลา 

                 ดังนั้นผู้ผลิตหัวเชื้อเห็ดแต่ละฟาร์มจะรู้ว่า ณ เวลานั้นๆหัวเชื้อเห็ดฟางของฟาร์มเอง  ออกดอกเป็นอย่างไร เช่น ถ้าใช้สายพันธุ์หนัก ลักษณะการเกิดดอกจะเกิดช้า ดอกใหญ่ เปลือกหนา เก็บทน และทนอากาศร้อนได้ดี เป็นต้น สำหรับสายพันธุ์เห็ดฟาง ถ้าจะแบ่งตามลักษณะการเกิดดอก จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เบา และสายพันธุ์หนัก 



             สูตร

1.
เปลือกถั่วเหลืองหรือถั่วเขียว
150   กก.
2.
เศษฝ้าย
100   กก.
3.
ปูนขาว
2   กก.
4.
ยิบซัม
4   กก.
5.
รำละเอียด
5   กก.
                   

         วิธีผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง

               วัสดุผลิตหลัก ได้แก่ เศษฝ้าย และเปลือกถั่วเหลืองหรือเปลือกถั่วเขียว นำเปลือกถั่ว ใส่บ่อแช่น้ำ 3 ชม. หรือใช้วิธีกองกับพื้นแล้วรดน้ำกลับกองไปมาแทนก็ได้ แล้วตั้งกองเป็นรูปหลังเต่า หมักเปลือกถั่วไว้ 4 คืน โดยกลับกองทุกวัน เพื่อระบายความร้อนในกอง เพื่อให้การหมักเป็นไปอย่างทั่วถึง  หมักได้ที่ไม่มีกลิ่นแก๊สแอมโมเนีย ( ถ้ามีให้กลับกองหมักต่อ จนปุ๋ยหมักมีกลิ่นหอม ) กระจายกอง ผสมเศษฝ้าย

     
              นำอาหารเสริม ที่เตรียมไว้หว่านทับบน  เศษฝ้ายให้ทั่วถึง นำเข้าเครื่องผสม 
เพื่อคลุกให้ทุกส่วนเข้ากัน ตั้งกองสูง 30 ซม. 
หมักกองปุ๋ยไว้ 3 คืน ทำการกลับกองทุกวัน 
โดยนำเข้าเครื่องผสมทุกครั้ง เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ทั่วถึง  
            ทำการบรรจุลงถุงทนร้อนพับก้นสำเร็จ ขนาด 7 x 12 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 600 กรัม 
สวมคอขวด รัดยาง อุดจุกด้วยสำลี เรียงลงตะแกรงเหล็ก ครอบด้วยฝาครอบ เพื่อป้องกันน้ำเข้าระหว่างการอบฆ่าเชื้อ แล้วนำเข้าตู้นึ่ง ทำการอบฆ่าเชื้อได้


            โดยปกติหม้อต้มไอน้ำจะอยู่ห่างจากตู้นึ่ง แล้วส่งไอน้ำไปตามท่อไปที่ตู้นึ่ง ให้อุณหภูมิที่ 100 องศา นาน 6 ชม. ปล่อยให้ก้อนเชื้อที่ผ่านการนึ่งให้เย็น แล้วนำเข้าห้องต่อแม่เชื้อ โดยปกติจะเตรียมขยายแม่เชื้อไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว  แม่เชื้อเห็ดฟาง 1 ขวด สามารถต่อลงก้อนหัวเชื้อได้ 25 ถุง วิธีต่อจำเป็นต้องทำในห้องมิดชิดเพื่อป้องกันเชื้ออื่นๆปะปน

          ทำการเปลี่ยนลงลังไม้ ตีตัวเลข วันที่เชื้อเดินเต็ม เดือน และ ตัวเลขสายพันธุ์เชื้อเห็ด จะอยู่ตัวสุดท้าย เช่น 19 - 07 - 05 หมายความว่า เชื้อเดินเต็มวันที่ 19 เดือน กรกฎาคม ( 07 ) และเป็นสายพันธุ์เชื้อเบอร์ 05 เพื่อสะดวกในการเลือกใช้
ต่อแม่เชื้อ เปลี่ยนลงลังไม้ ตีตัวเลขวันที่เชื้อเดินเต็ม และสายพันธุ์เชื้อแล้ว นำเข้าห้องบ่ม 12 วันหัวเชื้อเดินใยเต็มถุง พร้อมที่จะจัดลงถุงกระดาษ เพื่อเตรียมจัดส่งลูกค้า หรือนำไปเพาะได้แล้ว



สูตรกากมันสำปะหลัง


สูตรกากมันสำปะหลัง (กากล้าง) พร้อมวิธีการหมัก




                   กากมันสำปะหลัง  ที่เหลือใช้ในขบวนการผลิตแป้งมัน จะมีอยู่ 3 ชนิด 
ได้แก่ กากดิน กากล้าง และกากแป้ง กากดิน ได้จากการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังครั้งแรก ก่อนนำเข้าสู่ขบวนการผลิต จะมีเศษดิน เศษเปลือกนอก ลักษณะเป็นเหมือนดิน น้ำหนักมาก กากล้าง ได้จากการล้างทำความสะอาดครั้งที่ 2 ลักษณะจะมีน้ำปนออกมา สารอาหารที่เห็ดต้องการมีมาก ส่วน กากแป้ง ได้จากขบวนการผลิตสุดท้าย จะมีลักษณะเปียกชุ่มมาก สีออกขาว เนื้อละเอียด มีสารอาหารยังคงเหลืออยู่มากที่สุด ( บางโรงงานทำการตากแห้ง บรรจุถุงขาย ราคา กก.ละ 2-3 บาท ) 

                ดังนั้น กากล้างและกากแป้ง เมื่อนำมาเพาะเห็ด ให้ผลผลิตสูงกว่า กากดิน และเป็นสูตรที่ชาวเห็ดเกือบทุกคนบอกว่าเพาะยาก เพราะเหตุว่า ลักษณะของกากมันมี 3 ชนิด และที่สำคัญควรนำมาทำการเพาะทันทีหลังจาก ออกจากโรงงาน เพราะถ้ากองกากมันไว้ที่โรงงาน เท่ากับขบวนการย่อยสลายสารอาหารต่างๆก็เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว




สูตรการเพาะด้วยกากล้าง (ใช้เพาะได้ 100 ตารางเมตร)

1.
กากมันล้าง
4000
กก.
2.
ปูนขาว
8
กก.
3.
ยิบซัม
8
กก.
4.
ภูไมท์ (ไม่มีไม่ต้องใช้)
8
กก.
5.
มูลวัว/ควาย
80
กก.
6.
รำละเอียด
20
กรัม
7.
Em หัวเชื้อ
2
ลิตร
8.
กากน้ำตาล
2
ลิตร



             วิธีการหมักกากล้าง 

            ขยาย Em ล่วงหน้า 7-14 วัน โดยใช้น้ำสะอาด 40 ลิตร ผสมด้วยกากน้ำตาล 2 ลิตรและ Em หัวเชื้อ 2 ลิตร ใส่ถังหมักทิ้งไว้ตามกำหนด เรียกว่า Emขยาย ( ได้ Em ขยาย 40 ลิตร )    

    1. วันที่ 1 นำกากล้าง ทั้งหมดมากระจายให้บางๆ แล้วนำ ปูนขาว ยิบซัม ภูไมท์ มูลวัว/ควาย และรำละเอียด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน เรียกว่าเป็นอาหารเสริม 

    2. นำอาหารเสริมที่ผสมกันดีแล้ว 1 ส่วนมาหว่านบนกองมัน แล้วนำEmขยาย 20 ลิตรมาผสมน้ำ 100 ลิตร
    3. ทำการกลับกองด้วยจอบ พร้อมกับโชยด้วย Emขยาย จนหมดกอง แล้วทำการตั้งกองเป็นรูปหลังเต่า สูงประมาณ 50 ซม. คลุมด้วยพลาสติก หมักทิ้งไว้ 3 คืน
         
    4. วันที่ 4 เช้า ( หมักครบ 3 คืน ) เปิดพลาสติกออก ทำการกลับกองมันที่หมักไว้ โดยหว่านอาหารเสริมส่วนที่ 2 และรดด้วยน้ำ Em ขยายที่เหลือผสมน้ำ 100 ลิตร กลับกองแล้วตั้งกองเหมือนเดิม หมักต่ออีก 3 คืน
    5. วันที่ 6 เช้า ปูฟางหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ รดน้ำให้เปียกชุ่มมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปิดโรงเรือนไว้ 1 คืน 
    6. วันที่ 7 ขบวนการหมักกากมัน ครบ 6 คืนพร้อมที่จะขนขึ้นชั้นได้แล้ว ก่อนทำการขนขึ้นชั้นให้ตรวจดูความชื้นในกองมันโดยการใช้มือกำดู ถ้าไม่ชื้นพอให้รดน้ำ กะดูว่ากำมือเบาๆ มีน้ำไหลออกมา เป็นใช้ได้ 

    7. ในวันเดียวกันฟางบนชั้นเห็ดที่รดน้ำล่วงหน้าไว้ 1 คืน ทำการรดน้ำอีกครั้ง แล้วขนกากมันทับบนฟาง โดยเกลี่ยให้แบนราบ สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ 

    8. ขนกากมันขึ้นครบทุกชั้น ทำการหว่านรำละเอียดบางๆ อีกครั้งแล้วปิดโรงเรือน ทิ้งไว้ 2 คืน เรียกว่าเลี้ยงเชื้อรา 

    9. วันที่ 9 เช้า ทำการอบไอน้ำได้ เมื่ออุณหภูมิขึ้น 70 องศา จับเวลา 3 ชม. เป็นใช้ได้ 

    10. วันที่ 10 โรยเชื้อเห็ดได้แล้ว โดย 1 ก้อน โรยได้ 2 ตารางเมตร เมื่อโรยเชื้อครบทุกชั้น ทำการพ่นน้ำเป็นละอองเบาๆให้ทั่วถึง ปิดโรงเรือนไว้อีก 3 คืน 

    11. วันที่ 13 เปิดโรงเรือนจะมองเห็นเส้นใยเห็ดฟางเดินใยบนชั้นบางๆ ให้ทำการพ่นน้ำไปที่ใยเห็ด กะดูว่าใยเห็ดแนบกับกากมัน พ่นไปให้ทั่วถึง ไม่ว่าที่ใต้ชั้น ด้านข้างโรงเรือน แล้วเปิดระบายอากาศด้านบนทันที ปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 3 คืน 

    12. วันที่ 16 เปิดโรงเรือนจะเห็ดดอกเห็ดเล็กๆเกิดขึ้นบ้างแล้ว ให้สังเกตดอกเห็ดดอกใหญ่ที่สุดว่าสมบูรณ์หรือไม่ คือถ้าบนดอกเห็ดมีสีดำปนเทา สมบูรณ์ดีแล้ว ถ้าขาวคือเห็ดขาดอากาศ ให้เปิดระบายอากาศ อีกเท่าตัวแล้วสังเกตในวันรุ่งขึ้น
    

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เกี่ยวกับเห็ดฟาง คุณสมบัติของผู้เพาะเห็ด


เกี่ยวกับเห็ดฟาง
การเพาะเห็ด แบบโรงเรือน




เห็ดฟาง
          เป็นพืชที่เพาะเลี้ยงและสามารถให้เก็บผลผลิตได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น คือใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนประมาณ15-20 วัน ก็สามารถเก็บดอกเห็ดไปจำหน่ายได้ ดอกเห็ดฟางจำหน่ายได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการมาก อาชีพการเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมากอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้เพาะเห็ดฟางคือ อัตราเติบโตของปริมาณผลการผลิตเห็ดฟาง มีอัตราต่ำกว่าการเติบโตของการบริโภค และยังมีตลาดรองรับที่แน่นอน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
          การเพาะเลี้ยงเห็ดฟางมีหลายแบบ แต่หากคิดที่จะผลิตเห็ดเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ จะต้องใช้วิธีการการเพาะเลี้ยงแบบโรงเรือน ทั้งนี้เพาะในช่วงหน้าร้อน สามารถผลิตเห็ดได้ดีกว่าการเพาะเลี้ยงในรูปแบบอื่น ๆ ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอทั้งปี แต่ในช่วงที่ฝนตก หรือมีอากาศหนาว ราคาเห็ดฟางจะมีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงอื่น ๆ

 อีกทั้ง การเพาะเลี้ยงในโรงเรือน สามารถการดำเนินงานได้สะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนนี้ก็ยังมีข้อเสียคือ มีการลงทุนในขั้นแรกที่ค่อนข้างจะสูง มีหลักวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการเพาะมากพอสมควร ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดฟางในเรือนจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบ และเข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะหากกระทำไม่ถูกวิธีแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ 


เหตุใดเห็ดฟางจึงเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง  

        คนในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมเห็ดฟางในการนำไปประกอบอาหารหรือแปรรูปมากที่สุด โดยเฉพาะภาคอิสานของไทยนิยมกินเห็ดมากที่สุด 

  การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง ครั้งหนึ่ง ๆ จะให้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุเพาะ ค่าหัวเชื้อ ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว จะมีกำไรอยู่ประมาณ 50-65 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดราคาถั่วเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ประมาณ 60 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เหตุใด หรือทำไม จึงมีผู้ประสบผลสำเร็จ ได้น้อย อันเป็นเหตุให้ราคาเห็ดฟางคงที่อยู่ตลอดทั้งปี และในบางช่วงราคาอาจสูงถึง ก.ก. ละ 70 – 90 บาท ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้

          1.เห็ดฟาง เป็นพืชที่อ่อนไหวต่อการดูแลรักษาการผลิตมาก มีขั้นตอนการทำงานมาก ซึ่งถ้าหากมีการทำงานผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ เพียงขั้นตอนเดียว ก็จะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตแล้ว
          2.ผู้เพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี รู้แต่วิธีและขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งเห็ดฟางเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง อากาศ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย มิเช่นนั้นจะ ทำให้มีผลผลิตที่ต่ำลง
          3.ในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น (ก๊าซแอมโมเนีย) และมีปํญหาเรื่องแมลงไร ทำให้หาแรงงานได้ยาก แต่ถ้าหากขั้นตอนการทำงานถูกต้อง ปัญหานี้จะน้อยลงไปมาก

          ด้วยเหตุผลทั้ง ประการข้างต้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงรายเดิมเลิกเพาะเลี้ยง หรือหยุดเพาะเลี้ยงในบางช่วงที่อากาศหนาว   ในขณะที่ผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ ก็ไม่มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยง ทำให้ประสบปัญหาขาดทุน และเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ซึ่งส่งผลให้อัตราการผลิตน้อยลงไปทุกที ในขณะที่การบริโภคไม่ลดลง ซึ่งทำให้ราคาผลผลิตสูงอยู่ตลอด และบางช่วงราคาสูงมาก เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ยังคงต้องเพาะเลี้ยงต่อ

หากเกษตรกรรายใด มีคุณสมบัติครบ คือ

          1. มีความรู้ในเชิงทฤษดี ซึ่งสามารถหาอ่านได้ทั่วไป
          2. มีเงินทุน เริ่มต้น 30,000 บาท พอใช้สำหรับ โรงเรือน ในเวลา 4 - 5 เดือน
          3. มีพื้นที่ทำงาน 1 – 2 ไร่
          4. มีความอดทน และเข้าใจว่าในระหว่างหาประสบการณ์ ประมาณ 10 – 20 ครั้ง การผลิต หรือ ประมาณ 3 – 6เดือน จะต้องขาดทุนค่าแรงงาน
          5. มีแหล่งหาความรู้ในการทำงานเพาะเลี้ยง หรือสอบถามปัญหา
          6. ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน
          7. เป็นคนมีวินัยในการทำงาน และเป็นคนทำงานจริงจัง

คุณก็สามารถจะสร้างรายได้ ขั้นต่ำเดือนละ 2-30,000 บาท ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ยาก และถ้าสามารถขยายงานออกไปได้ สามารถทำการตลาดเองได้ คุณก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน 

เคล็ดลับการอบไอน้ำ


การอบไอน้ำ



การอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ 

                    หลังจากเลี้ยงเชื้อราจนได้ที่แล้ว ให้เริ่มงานในตอนเช้ามืด โดยฉีดน้ำลดวัสดุเพาะให้ชุ่มแต่ไม่ให้ถึงขนาดน้ำไหลหยดลงมาใต้ชั้นเพาะมากนัก เพราะจะทำให้เสียธาตุอาหารไปกับน้ำ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการอบไอน้ำ ไม่ค่อยมีผู้อบรมรายใดให้ความรู้ไว้ การให้น้ำจะเป็นการใช้น้ำเป็นสื่อในการนำความร้อนเข้ากองเพาะ ในกรณีที่ความชื้นในกองเพาะไม่พอ และมีการกองวัสดุหนามาก ถ้าไม่ให้น้ำจะอบไอน้ำไม่เข้าถึงข้างในกองเพาะหรือให้เข้าถึงก็จะเสียเวลาในการอบไอน้ำนานมาก ๆ

                    การอบไอน้ำไม่เข้าถึงกองเพาะจะทำให้พอเก็บเห็ดไปเกิน 10 วันจะมีปัญหา เรื่องวัชเห็ดกับแมลงไร อีกอย่างการอบไอน้ำเป็นการไล่ความชื้นส่วนเกินออกจากกองเพาะด้วย ส่วนอุณหภูมิที่จะใช้ในการอบให้ใช้อุณหภูมิสูงสุดของกองเพาะตอนหมักวัสดุเพาะ (สมมุติ 55 องศา) บวกด้วย 10 องศา (เป็น 65 องศา) ในกรณีที่เก็บเห็ดรอบเดียวคือ 5-7 วัน ให้อบนาน ช.ม.
 (โดยเริ่มจับเวลาตอนจับอุณหภูมิได้สูงถึง 65 องศา และเมื่อทำอุณหภูมิสูงได้แล้วต้องดูแลเชื้อเพลิง อย่าให้อุณหภูมิลดลงระหว่างจับเวลา) 

หากเก็บเห็ดรอบสองด้วย ประมาณ 10-14 วัน ต้องอบนาน ช.ม. หากเก็บเห็ดนานกว่านั้นให้อบที่ ช.ม. ในกรณีที่ใข้ฝางปูรองวัสดุเพาะ ถ้าอบไอน้ำไม่ถูกต้อง จะเริ่มมีปัญหาเรื่องแมลงไร เมื่อเก็บเห็ดเลย 12 วัน แต่ในกรณีใช้ทลายปาล์ม จะไม่ค่อยมีปัญหา 


                 ควรจะเน้นการอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้นและระยะเวลาการอบไอน้ำให้ยาวขึ้นมากกว่า การอบไอน้ำที่ถูกต้อง ถ้าอบได้อุณหภูมิสูงพอและเวลาที่เหมาะสม เมื่ออบไอน้ำเสร็จตอนเข้าไปในโรงเรือน เพื่อให้หัวเชื้อจะรู้สึกหอมครับ ถ้าไม่หอมก็แสดงว่ายังอบไอน้ำได้ไม่นานพอหรือที่อุณหภูมิไม่สูงพอ ในครั้งหน้าควรเพิ่ม



   การวัดอุณหภูมิในโรงเรือน 
ให้ใช้ที่วัดแบบที่เป็นหลอดแก้ว ราคาประมาณ 100 บาท เสียบเข้าไปภายในโรงเรือน ให้วัดสูงกว่าพื้น เมตร โดยไม่ไห้ส่วนปลายปรอทสัมผัสถูกผนังโรงเรือน
จากนั้นให้รอจนอุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงเหลือ 38-40 องศาให้ทำการให้หัวเชื้อ อย่าให้หัวเชื้อในระหว่างที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้เส้นใยเดินไม่ดี และถ้าให้หัวเชื้อในขณะที่อุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 42 องศา ผู้ให้หัวเชื้อก็จะรู้สึกไม่สบายตัว และเชื้อก็อาจจะตายเพราะอุณหภูมิในกองเพาะสูงจะกว่าอุณหภูมิของโรงเรือน 

การตัดเส้นใยเห็ด


การตัดเส้นใยเห็ด


   การตัดเส้นใยเห็ด 
             หลังจากให้หัวเชื้อแล้ว จะเกิดเส้นใยเห็ด ในระยะนี้เชื้อเห็ดฟางต้องการไนโตรเจนเพื่อสร้างเส้นใย และต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด ต้องการความชื้นสูงทั้งในโรงเรือนและในกองเพาะ ต้องการอุณหภูมิภายในโรงเรือนระหว่าง 34-38 องศา 
ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ภายในโรงเรือนจะรู้สึกอุ่น ๆ และมีกลิ่นหอมของเห็ด 




                   หลังจากเส้นใยเห็ดขึ้นเต็มแล้ว และมีอาการเริ่มยุบตัว ซึ่งจะตกประมาณ 4-6 วัน แล้วแต่ความร้อนภายในกองเพาะ ถ้าความร้อนภายในกองเพาะสูงจะใช้เวลาน้อย เส้นใยเห็ดจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ให้เปิดช่องหน้าต่างโรงเรือนด้านบน และให้เริ่มเป่าอากาศเข้าภายในโรงเรือน พัดลมเป่าอากาศจะต้องให้ตัวใหญ่เข้าว่า ตัวนี้ประหยัดไม่ได้ ราคาประมาณ 3,500 – 4.500 บาท ถ้าซึ้อราคาถูก 

จะสังเกตได้ว่า พัดลมพอหรือไม่ให้ดูจากผนังโรงเรือน พลาสติกจะต้องพองโปร่งออกมาเพราะแรงลมอันนี้คือพัดลมแรงพอ ถ้าไม่พอเพราะโรงเรือนใหญ่ไป ให้ใช้ ตัว การให้พัดลมที่แรงในเวลาสั้นจะทำให้สูญเสียความชื้นน้อยกว่า การให้พัดลมไม่แรงแต่ใช้ระยะเวลานาน ถ้างบน้อยก็ใช้วิธีเปิดให้อากาศถ่ายเทตอนเช้าและเย็น ประมาณ1 ชั่วโมง (ห้ามเปิดตอนที่มีลมแรง) หรือตอนที่อากาศในโรงเรือนร้อนมาก  ในการเลี้ยงเห็ดถ้าเห็ดได้รับลมเฉี่อยเห็ดจะเป็นสีคล่ำขึ้น



                แต่ถ้าลมที่มีแรงอัดเข้าไปจะไม่ทำให้เห็ดเปลี่ยนสี ในระหว่างที่ให้พัดลมเป่าอากาศ ก็ให้ทำการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย เป็นฝอยจริง ๆ นะครับ ห้ามเป็นหยดน้ำ หรือฉีดมากจนเป็นหยดน้ำเกาะติดเส้นใย ถ้าเส้นเย็นเห็ดโดนน้ำจะทำให้ไม่จับตัวเป็นดอก วัตถุประสงค์ของการฉีดน้ำตัดเส้นใย ก็เพื่อบังคับให้เห็ดจับดอกพร้อมกันจะได้ไม่ทยอยเกิด จะทำให้ทำงานง่าย ถ้าต้องการทยอยเก็บเห็ดขายก็ไม่ต้องฉีดตัดเส้นใย 

หลังฉีดตัดเส้นใยแล้ว เห็ดก็ยังต้องการความชื้นที่สูงมากอยู่ และต้องการก๊าซออกซิเจนมากขึ้น รักษาอุณหภูมิ 28-32 องศา เปิดช่องหน้าต่างด้านล่างโรงเรือน และให้แสงสว่างเท่ากับแสงที่คุณสามารถอ่านหนังสือได้ ประมาณวันละ 3-4 ชั่วโมงก็พอ ถ้าเวลากลางวันแสงพอ ก็ไม่ต้องให้แสงแล้ว ถ้ามีส่วนไหนได้รับแสงสว่างไม่พอ จะทำให้จับดอกน้อยกว่าส่วนที่ได้รับแสง เพราะความสว่างของแสงมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการจับดอก ส่วนระยะเวลาให้แสงนานหรือไม่นานไม่มีผลทำให้เห็ดจับดอกมากขึ้น 

การดูแลรักษาในระยะของการเก็บเห็ด


การดูแลรักษาในระยะของการเก็บเห็ด



 ในการทำเห็ดแบบโรงเรือน 
คุณจะต้องวางแผนก่อนตั้งแต่แรกว่าคุณจะเก็บเห็ดกี่รอบ เพราะถ้าเก็บ 2 หรือ 3 รอบการกองวัสดุเพาะจะต้องให้หนา และการอบไอน้ำก็ต้องอบในระยะเวลาที่ถูกต้อง การจัดอาหารเสริมให้เหมาะต่อระยะเวลาการเก็บ อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ 
หลังจากเก็บเห็ดรอบแรกเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ 
-E.M. 300 ซี.ซี. 
-วิตามินบี 1 จำนวน 1 เม็ด 
-แป้งที่คุณใช้ผสมหัวเชื้อ 5 ช้อนโต๊ะ 
-น้ำ 20 ลิตร 
การฉีดพ่นนี้จะเพิ่มน้ำหนักเห็ดได้มากกว่า 15% 

 
ในระยะที่เห็ดโตในระยะหัวกระดุม ให้ฉีดพ่นสารดังนี้
1.E.M. 200 ซี.ซี.
2.วิตามินบี 1 จำนวน 1 เม็ด
3.สารจิบเบอเรลลิน ยี่ห้อไหนก็ได้ อัตราการใช้ให้ใช้ครึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้ตามฉลาก ห้ามใช้มากกว่านี้ เพราะดอกเห็ดจะยืดยาวมากไป ไม่สวย
4.น้ำ 20 ลิตร
ให้ฉีดพ่นทุกวัน ช่วงเช้า ถ้าเริ่มเก็บดอกเห็ดแล้วให้ฉีดหลังจากเก็บดอกเห็ดเสร็จ

ใช้ลาดลงบนแปลงเพาะ โดยเฉลี่ยให้ได้ประมาณ ต.ร.ม. ละ 1 ลิตร หลังจากนั้นให้หยิบวัสดุเพาะมา 1 กำมือ โดยหยิบให้ลึกลงไปตามแนวลึก ลองบีบดูให้พอแน่น ถ้ารู้สึกเปียกก็แสดงว่าให้น้ำพอแล้ว หลังจากนั้นก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับตอนให้หัวเชื้อแล้วเลี้ยงเส้นใยเห็ด เห็ดก็จะเริ่มสร้างเส้นใยใหม่ แต่จะใช้เวลามากกว่าเดิม 1-2 วัน ส่วนปริมาณเห็ดที่จะเก็บได้ขึ้นอยู่กับความร้อนภายในกองเพาะเป็นหลัก ถ้าหลังจากให้น้ำแล้ว วันรุ่งขึ้นถ้าจับอุณหภูมิภายในกองเพาะได้ไม่ต่ำกว่า 36 องศา คุณจะเก็บเห็ดได้ประมาณ 50-60 % ของการเก็บเห็ดรอบแรก 




   การพิจารณาว่าจะรื้อทิ้งแล้วเริ่มทำเห็ดใหม่หรือไม่ 
ให้พิจารณาจากอุณหภูมิภายในกองเพาะ ถ้าต่ำกว่า 36 องศา จะเริ่มให้เห็ดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิที่ลดลง เกษตรกรบางรายก็ใช้วิธีทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง เพื่อให้กองเพาะมีความร้อนเพียงพอที่จะสร้างใยเห็ดรอบใหม่ แต่คุณจะเจอปัญหาในเรื่องความชื้นไม่พอตามมาที่หลัง 

คนที่จะทำเห็ดหลาย ๆ รอบ ต้องควมคุมความชื้นให้เป็น สำหรับผู้ที่ใช้ทลายปาล์มเป็นวัสดุเพาะ ทลายปาล์มสลายยากคงอุณหภูมิได้นาน ส่วนใหญ่จะให้เห็ดทยอยเกิดไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้ควบคุมบังคับ ซึ่งเป็นเหตุให้ใช้เวลาในการเพาะนานเกินไป ต้องบังคับให้ได้ถึงจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า 

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การวางแผนกลยุทธ์


การวางแผนกลยุทธ์

ภารกิจ (Mission)

 เพิ่มขีดความสามารถคนในชุมชน เสริมความรู้ในการสร้างอาชีพ และผลักดันผู้คนมีรายได้เสริมสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เพื่อให้ผู้คนกดถูกใจและติดตามเพจของเรามากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาเกษตรกรได้อย่างแท้จริง

โครงร่างของบริษัท (Company Profile)


  เพจ การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน-บ้านผือ  สร้างขึ้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2560
  ลักษณะ เพจสำหรับโปรโหมดสินค้า ประชาสัมพันธ์ เสริมข้อมูลความรู้ด้านการเพาะเห็ดฟางโรงเรือน

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

การเพาะเห็ดฟางส่วนใหญ่จะทำการเพาะได้แค่ช่วงฤดูร้อน 
เห็ดฟางจะมีราคาสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวกับฤดูฝน 
ตลาดซื้อขายเห็ดหรือการส่งออก มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้การทำธุรกิจการเพาะเห็ดฟางกำลังขยายตัวเพิ่มอย่างมาก

การวิเคราะห์กลยุทธ์และทางเลือกของกลยุทธ์
(จุดแข็ง)
   1)  การมีทักษะ ความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการเพาะเห็ด เป็นอย่างดีโดยผ่านการอบรม ศึกษาข้อมูล และปฏิบัติงานด้วยตนเอง
       2) ทุนในการดำเนินการเป็นของตนเองทั้งหมด
       3) มีการจัดการแบบครอบครัวจึงสามารถดำเนินการ ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และแก้ไขสถานการณ์ได้ตรงตามใจลูกค้า
      4) มีลูกค้าประจำตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมา จนถึงปัจจุบัน และยังให้การสนับสนุนอยู่
     
(จุดอ่อน)
     1) เพจสำหรับโปรโหมดสินค้ายังใหม่และพึ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน ลูกค้าจึงยังไม่รู้จัก
     2) มียอดกดถูกใจและติดตามน้อยกว่าคู่แข่ง
     3) การโฆษณายังขาดการสร้างรูปแบบที่น่าสนใจ และขาดความต่อเนื่อง 

(โอกาส)

     1) ภาคอีสานมีการบริโภคเห็ดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ส่งผลให้เห็ดยังมีตลาดที่โตขึ้นเรื่อยๆ
     2) ความนิยมในการบริโภคเห็ดเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
     3) ภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนเกษตรกรเพาะเห็ด

 (อุปสรรค)
     1) ราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น
     2) มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์


1         1)  เพื่อให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มเป้าหมายและคนทั่วๆไป
         2) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสำหรับผู้คนที่ชอบและต้องการเห็ดที่สดใหม่
         3) ได้การยอมรับจากผู้คนและเชื่อมั่นข้อมูลในธุรกิจของเรา

แผน (Plans)

1           การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาโปรโหมดสินค้าผ่านสื่อหรือทำการอัดวิดีโอขั้นตอนการทำธุรกิจไว้ให้สำหรับคนที่สนใจ การึกษาและเก็บข้อมูลลูกค้าเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของค้าขายปลีก และขายส่ง เพื่อทราบแนวโน้มและความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดี ยิ่งขึ้น และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคู่แข่งในตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง 

นโยบาย (Policies)
     ข้อมูลที่นำมาต้องมีคุณภาพ ราคาที่พอเหมาะไม่ตั้งแพงเกินจริง สินค้ามีคุณภาพดีและสดใหม่ ข้อมูลเป็นข้อมูลจริง ภาพและวิดีโอเกิดจากสถานที่จริง พื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เพจเป็นที่น่าเชื่อถือ 
  การให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจหรือสอบถาม และมีการลดราคาหรือการแถม เพื่อดึงความสนใจจากลูกค้า

การปฎิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation


1          1)  เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิต การดูแล การจำหน่าย วิธีจัดเก็บ รวมถึงราคาในท้องตลาดของเห็ดฟาง
          2) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพิ่มคุณภาพของเห็ด ให้มีความสดและขนาดพอเหมาะน่ารับประทาน
2        3) การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตให้หลากหลายช่องทาง 
       ทำให้คนรู้จักเพิ่มมากขึ้น 
3        4) ลงพื้นที่จริง ข้อมูลจริง เพิ่มเทคนิคการนำเสนอให้น่าสนใจ และเพิ่มความน่าเชื่อถือ