การอบไอน้ำ
การอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
หลังจากเลี้ยงเชื้อราจนได้ที่แล้ว ให้เริ่มงานในตอนเช้ามืด โดยฉีดน้ำลดวัสดุเพาะให้ชุ่มแต่ไม่ให้ถึงขนาดน้ำไหลหยดลงมาใต้ชั้นเพาะมากนัก เพราะจะทำให้เสียธาตุอาหารไปกับน้ำ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการอบไอน้ำ ไม่ค่อยมีผู้อบรมรายใดให้ความรู้ไว้ การให้น้ำจะเป็นการใช้น้ำเป็นสื่อในการนำความร้อนเข้ากองเพาะ ในกรณีที่ความชื้นในกองเพาะไม่พอ และมีการกองวัสดุหนามาก ถ้าไม่ให้น้ำจะอบไอน้ำไม่เข้าถึงข้างในกองเพาะหรือให้เข้าถึงก็จะเสียเวลาในการอบไอน้ำนานมาก ๆ
การอบไอน้ำไม่เข้าถึงกองเพาะจะทำให้พอเก็บเห็ดไปเกิน 10 วันจะมีปัญหา เรื่องวัชเห็ดกับแมลงไร อีกอย่างการอบไอน้ำเป็นการไล่ความชื้นส่วนเกินออกจากกองเพาะด้วย ส่วนอุณหภูมิที่จะใช้ในการอบให้ใช้อุณหภูมิสูงสุดของกองเพาะตอนหมักวัสดุเพาะ (สมมุติ 55 องศา) บวกด้วย 10 องศา (เป็น 65 องศา) ในกรณีที่เก็บเห็ดรอบเดียวคือ 5-7 วัน ให้อบนาน 3 ช.ม.
(โดยเริ่มจับเวลาตอนจับอุณหภูมิได้สูงถึง 65 องศา และเมื่อทำอุณหภูมิสูงได้แล้วต้องดูแลเชื้อเพลิง อย่าให้อุณหภูมิลดลงระหว่างจับเวลา)
หากเก็บเห็ดรอบสองด้วย ประมาณ 10-14 วัน ต้องอบนาน 5 ช.ม. หากเก็บเห็ดนานกว่านั้นให้อบที่ 6 ช.ม. ในกรณีที่ใข้ฝางปูรองวัสดุเพาะ ถ้าอบไอน้ำไม่ถูกต้อง จะเริ่มมีปัญหาเรื่องแมลงไร เมื่อเก็บเห็ดเลย 12 วัน แต่ในกรณีใช้ทลายปาล์ม จะไม่ค่อยมีปัญหา
ควรจะเน้นการอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้นและระยะเวลาการอบไอน้ำให้ยาวขึ้นมากกว่า การอบไอน้ำที่ถูกต้อง ถ้าอบได้อุณหภูมิสูงพอและเวลาที่เหมาะสม เมื่ออบไอน้ำเสร็จตอนเข้าไปในโรงเรือน เพื่อให้หัวเชื้อจะรู้สึกหอมครับ ถ้าไม่หอมก็แสดงว่ายังอบไอน้ำได้ไม่นานพอหรือที่อุณหภูมิไม่สูงพอ ในครั้งหน้าควรเพิ่ม
การวัดอุณหภูมิในโรงเรือน
ให้ใช้ที่วัดแบบที่เป็นหลอดแก้ว ราคาประมาณ 100 บาท เสียบเข้าไปภายในโรงเรือน ให้วัดสูงกว่าพื้น 1 เมตร โดยไม่ไห้ส่วนปลายปรอทสัมผัสถูกผนังโรงเรือน
จากนั้นให้รอจนอุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงเหลือ 38-40 องศาให้ทำการให้หัวเชื้อ อย่าให้หัวเชื้อในระหว่างที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้เส้นใยเดินไม่ดี และถ้าให้หัวเชื้อในขณะที่อุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 42 องศา ผู้ให้หัวเชื้อก็จะรู้สึกไม่สบายตัว และเชื้อก็อาจจะตายเพราะอุณหภูมิในกองเพาะสูงจะกว่าอุณหภูมิของโรงเรือน
จากนั้นให้รอจนอุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงเหลือ 38-40 องศาให้ทำการให้หัวเชื้อ อย่าให้หัวเชื้อในระหว่างที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้เส้นใยเดินไม่ดี และถ้าให้หัวเชื้อในขณะที่อุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 42 องศา ผู้ให้หัวเชื้อก็จะรู้สึกไม่สบายตัว และเชื้อก็อาจจะตายเพราะอุณหภูมิในกองเพาะสูงจะกว่าอุณหภูมิของโรงเรือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น