วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การตัดเส้นใยเห็ด


การตัดเส้นใยเห็ด


   การตัดเส้นใยเห็ด 
             หลังจากให้หัวเชื้อแล้ว จะเกิดเส้นใยเห็ด ในระยะนี้เชื้อเห็ดฟางต้องการไนโตรเจนเพื่อสร้างเส้นใย และต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด ต้องการความชื้นสูงทั้งในโรงเรือนและในกองเพาะ ต้องการอุณหภูมิภายในโรงเรือนระหว่าง 34-38 องศา 
ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ภายในโรงเรือนจะรู้สึกอุ่น ๆ และมีกลิ่นหอมของเห็ด 




                   หลังจากเส้นใยเห็ดขึ้นเต็มแล้ว และมีอาการเริ่มยุบตัว ซึ่งจะตกประมาณ 4-6 วัน แล้วแต่ความร้อนภายในกองเพาะ ถ้าความร้อนภายในกองเพาะสูงจะใช้เวลาน้อย เส้นใยเห็ดจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ให้เปิดช่องหน้าต่างโรงเรือนด้านบน และให้เริ่มเป่าอากาศเข้าภายในโรงเรือน พัดลมเป่าอากาศจะต้องให้ตัวใหญ่เข้าว่า ตัวนี้ประหยัดไม่ได้ ราคาประมาณ 3,500 – 4.500 บาท ถ้าซึ้อราคาถูก 

จะสังเกตได้ว่า พัดลมพอหรือไม่ให้ดูจากผนังโรงเรือน พลาสติกจะต้องพองโปร่งออกมาเพราะแรงลมอันนี้คือพัดลมแรงพอ ถ้าไม่พอเพราะโรงเรือนใหญ่ไป ให้ใช้ ตัว การให้พัดลมที่แรงในเวลาสั้นจะทำให้สูญเสียความชื้นน้อยกว่า การให้พัดลมไม่แรงแต่ใช้ระยะเวลานาน ถ้างบน้อยก็ใช้วิธีเปิดให้อากาศถ่ายเทตอนเช้าและเย็น ประมาณ1 ชั่วโมง (ห้ามเปิดตอนที่มีลมแรง) หรือตอนที่อากาศในโรงเรือนร้อนมาก  ในการเลี้ยงเห็ดถ้าเห็ดได้รับลมเฉี่อยเห็ดจะเป็นสีคล่ำขึ้น



                แต่ถ้าลมที่มีแรงอัดเข้าไปจะไม่ทำให้เห็ดเปลี่ยนสี ในระหว่างที่ให้พัดลมเป่าอากาศ ก็ให้ทำการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย เป็นฝอยจริง ๆ นะครับ ห้ามเป็นหยดน้ำ หรือฉีดมากจนเป็นหยดน้ำเกาะติดเส้นใย ถ้าเส้นเย็นเห็ดโดนน้ำจะทำให้ไม่จับตัวเป็นดอก วัตถุประสงค์ของการฉีดน้ำตัดเส้นใย ก็เพื่อบังคับให้เห็ดจับดอกพร้อมกันจะได้ไม่ทยอยเกิด จะทำให้ทำงานง่าย ถ้าต้องการทยอยเก็บเห็ดขายก็ไม่ต้องฉีดตัดเส้นใย 

หลังฉีดตัดเส้นใยแล้ว เห็ดก็ยังต้องการความชื้นที่สูงมากอยู่ และต้องการก๊าซออกซิเจนมากขึ้น รักษาอุณหภูมิ 28-32 องศา เปิดช่องหน้าต่างด้านล่างโรงเรือน และให้แสงสว่างเท่ากับแสงที่คุณสามารถอ่านหนังสือได้ ประมาณวันละ 3-4 ชั่วโมงก็พอ ถ้าเวลากลางวันแสงพอ ก็ไม่ต้องให้แสงแล้ว ถ้ามีส่วนไหนได้รับแสงสว่างไม่พอ จะทำให้จับดอกน้อยกว่าส่วนที่ได้รับแสง เพราะความสว่างของแสงมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการจับดอก ส่วนระยะเวลาให้แสงนานหรือไม่นานไม่มีผลทำให้เห็ดจับดอกมากขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น